ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ข้อเสนอเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Proposed Policy for School Management Towards Excellence According to Policies Under the Office of Basic Education
ผู้จัดทำ
วีรเทพ เนียมหัตถี รหัส 492H97101 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2553
ที่ปรึกษา
ผศ.ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม, ดร.อดุลยศักดิ์ สุนทรโรจน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ ร่าง ตรวจสอบ และจัดทำข้อเสนอเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยการสังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 3  ด้าน คือ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า   2) ด้านกระบวนการ 3) ด้านผลลัพธ์ ใช้ระเบียบวิจัยเชิงนโยบาย ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาบริบทมีวิธี 5 วิธี คือ การศึกษาเชิงสำรวจ การวิเคราะห์เอสาร การสนทนากลุ่มเป้าหมาย  การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย และการศึกษาพหุกรณี ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยการสัมมนา ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย มี 3 วิธี คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และการประชาพิจารณ์ผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 176 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังนี้

1. ด้านปัจจัยนำเข้า (input) ประกอบด้วย 6 ด้านย่อยดังนี้  

1.1  ด้านโครงสร้าง  มีแนวปฏิบัติ คือ ให้สถานศึกษามีการจัดองค์กรโครงสร้างและ   การบริหารงานอย่างเป็นระบบ  มีระบบการบริหาร  มีการจัดทำแผนเพื่อนิเทศ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน 

1.2 ด้านบุคลากร มีแนวปฏิบัติ คือ ให้วิเคราะห์ความต้องการ อัตรากำลัง จัดทำแผน เสนออัตรากำลัง  ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้มีกระบวนการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 

1.3 ด้านเทคโนโลยี  มีแนวปฏิบัติ คือ ให้มีการร่วมกันกำหนดนโยบาย วางแผน การจัดหาและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีการพัฒนาบุคลากรในการใช้สื่อและเทคโนโลยี มีการกำกับ ติดตาม และประเมินประสิทธิภาพเป็นระยะและสม่ำเสมอ                      

1.4 ด้านหลักสูตร  มีแนวปฏิบัติ คือ ให้มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  ให้มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการต่างๆ ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  มีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา        

1.5 ด้านทรัพยากรและงบประมาณ มีแนวปฏิบัติ  คือ ให้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา   มีระบบการบริหารงบประมาณที่มุ่งเน้นความเป็นอิสระ คล่องตัว โปร่งใส และตรวจสอบได้ ยึดหลักธรรมาภิบาล  

1.6 ด้านภาวะผู้นำ มีแนวปฏิบัติ คือ ให้มีทักษะภาวะผู้นำด้านเทคนิควิธีการ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ ด้านความคิดรวบยอด

2.  ด้านกระบวนการ (process) ประกอบด้วย 4 ด้านย่อย ดังนี้

2.1. ด้านการรองรับการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา มีแนวปฏิบัติ คือ ให้จัดทำแผนและระบบพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา จัดระบบการบริหารและพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

 2.2 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน มีแนวปฏิบัติ คือ ให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ครูบูรณาการการเรียนรู้กับกลุ่มวิชาอื่นๆ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้เครื่องมือวัดและประเมินผล การเรียนรู้ที่มีคุณภาพและหลากหลาย

2.3 ด้านบรรยากาศในสถานศึกษา มีแนวปฏิบัติ คือให้มีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริหารที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ ครูสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับนักเรียน  จัดบริเวณให้ร่มรื่น น่าอยู่ น่าดู น่าเรียน

2.4 ด้านประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา มีแนวปฏิบัติ คือ ให้สถานศึกษามีระบบการดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นไปตามกฏกระทรวง สร้างระบบการทำงานที่เข้มแข็ง ทั้งการประเมินภายในและภายนอก

3.  ด้านผลลัพธ์ (out put) ประกอบด้วย 3 ด้านย่อยดังนี้               

3.1 ด้านคุณภาพการศึกษา มีแนวปฏิบัติ คือ ให้กำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการ แผนเฉพาะกิจ แผนเชิงกลยุทธ์  ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน สร้างเครือข่ายวิชาการ

3.2 ด้านคุณภาพนักเรียน มีแนวปฏิบัติ คือ ให้จัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ผู้เรียนมีสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร

3.3 ด้านความพึงพอใจ มีแนวปฏิบัติ คือ ให้สถานศึกษาสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการศึกษา  ดำเนินโครงการ/กิจกรรมใช้หลักการมีส่วนร่วม  ให้ความสำคัญด้านวิชาการอันดับแรก  มีระบบการรายงานผลการเรียน ต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

Abstract

This research aimed to establish models, investigate and set up proposed policy for School Management Toward Excellence  According  To policies Under the Office  of  Basic Education by synthesizing related papers and researches focusing on 3 main aspects: 1) input – with 6 minor aspects, 2) process – with 4 minor aspects and  3) outcome – with 3 minor aspects. The research method utilized consisted of 3 chief steps: 1) studying contexts by surveying, analyzing papers, talking to the aimed groups, interviewing the aimed groups and studying multi-case studies; 2) developing model-proposed policy by holding seminars; 3) investigating model-proposed policy by interviewing experts, holding workshop seminars and having a public hearing of stakeholders

 The populations of the sampling groups were 176 school administrators and were fixed by using the table (Krejcie R.V. and Morgan D.W. (1970)- the purposive sampling. The instruments were five-scale rating questionnaires, open-ended questionnaires and semi-structure interviewing forms.

The research findings were as follows:

1. Input-consisting of 6 minor aspects which were:

1.1 Administrative structure- the suggested practical guideline was that schools should have a structural organization and a complete; systematic administration; a chart of administrative organization and a literary structure including explicit job assigning orders; a system for structural administration which was flexible, independent, and adjustable; plans for supervising and work assessing.

1.2  Personnel- the suggested practical guideline was that schools should analyze personnel need; making plans to propose personnel need which indicated that teachers should obtain sufficient knowledge, academic level and ability to handle  the jobs effectively,   have authority to carry out selecting and positioning personnel; promote personnel’s self development continually according to the criteria assigned by the Teachers and Educational Personnel Committees ; have a process to assess work performance systematically and continually.

1.3 Technology- the suggested practical guideline was that schools should establish co-operation to set policy and plan to seek for and develop teaching material and technology; develop personnel so as to use teaching materials and technology; produce and seek for teaching materials and technology; obtain materials, apparatus, computers, and high-speed internet network; inspect and evaluate work quality periodically and continually.

1.4 Curriculum- the suggested practical guideline was that schools should analyze school curriculum based on core curriculum of the basic education; establish co-operation to build up understanding in curriculum and school strategies; appoint academic and curriculum administration committees; encourage teachers to create lesson plans corresponding to learners’ aptitude and ability; supervise, investigate, evaluate and improve school curriculum at the end of academic year.    

1.5 Resource and budget- the practical guideline was that schools should analyze the state of school environment (SWOT); provide sufficient budget as the payment for undertaking and investing in necessary enterprises; have the budget administration system which was independent, agile, transparent, be able to inspected and based on good governance; provide budget according to school visions, missions, goals and strategies; ask for financial help from persons, families, communities other social institutions, and co-operation in educational managing.

1.6 Leadership- the practical guideline was that administrators should have skills of leadership in techniques, human relationship and concepts.

 2. Process- consisting of 4 minor aspects which were:

 2.1 Decentralization of authority in educational administration and management- the practical guideline was that schools should create plans to develop school education so as to be modern and effective organizations; conduct personnel preparation; and develop the data base and information system.

2.2 Learning and teaching activities- the suggested practical guideline was that teachers should obtain ability in performing effective teaching focusing on child-centered methods; integrate learning with other subjects or local wisdoms; provide special tutoring for students who had learning deficiency and for special aimed groups; use variety of high quality instruments to evaluate learning.

2.3 School environment- the practical guideline was that schools should establish environment and administration that enable students to develop themselves according to their learning nature and potentiality; build up positive relationship between teachers and students as a good model in collaboration and mutual respect; create external and internal atmosphere to be clean, beautiful, tidy, shady suitable for living, being spectacular and learning;  establish security system for students.

2.4 Educational quality and standards accreditation- the practical guideline was that schools should establish a system of internal quality accreditation according to the ministry’s regulations; that administrators should be intensively aware of the importance of quality accreditation; build up strong work performing system for both internal and external evaluation with co-operation from personnel, parents, communities; and that schools should establish an information administrative system which supplemented the development and establishing a quality and educational standard accreditation. 

3. Output- consisting of 3 minor aspects which were:

3.1 Educational quality- the practical guideline was that schools should assign an action plan, special mission plan, and strategic plan; boost conducting classroom researches; and establish academic networks focusing on participating.

3.2 Students’ quality- the practical guideline was that schools should administrate education to meet basic education standards in order to promote learners’ quality, morale, virtue and satisfactory value; that students should obtain chief proficiency assigned in curriculum.

3.3 Satisfaction- the suggested practical guideline was that schools should establish conceptual spirit in developing educational service, characteristics and a mechanical system in giving service; undertaking projects and activities using principles of participation; obtain outstanding projects and activities; put importance to academic affairs; and have a system to report learning outcomes to students, parents and communities.

คำสำคัญ
การบริหารจัดการสถานศึกษา
Keywords
School Management Towards Excellence
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 13,239.08 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 เมษายน 2563 - 09:49:12
View 995 ครั้ง


^