ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาล : กรณีสำนักงานเทศบาล เมืองมุกดาหาร
Development of Leadership for Municipal Officers: A Case of Mukdahan Municipality Office
ผู้จัดทำ
เยาวลักษณ์ สุตะโคตร รหัส 492H97103 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2553
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ดร.อนันท์ งามสะอาด
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ  มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของพนักงานในสำนักงานเทศบาลเมืองมุกดาหาร  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบสัมภาษณ์  แบบสอบถาม  แบบวัดความรู้และเจตคติ  และหลักสูตรการฝึกอบรม ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 104  คน ประกอบด้วยผู้บริหาร 23  คน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 81  คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยเป็นสถิติพื้นฐาน  คือ  ค่าร้อยละ  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าเฉลี่ย  และค่า  t-test  (Dependent Sample)  การวิจัยในครั้งนี้แบ่งเป็น  4  ขั้นตอน  ซึ่งมีผลการวิจัย   ดังนี้

ขั้นตอนที่  1 การศึกษารูปแบบภาวะผู้นำที่เหมาะสมของพนักงานเทศบาล พบว่า  คุณลักษณะภาวะผู้นำที่มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล  ทั้งระดับผู้บริหาร  และระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน  มี  5 รูปแบบ  ประกอบด้วย  ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม  ภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป  ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ  ภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์  และภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการ  

ขั้นตอนที่  2  การออกแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ  เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำโดยใช้วิธีการฝึกอบรมเป็นแนวทางในการพัฒนา  แบ่งเป็น  3 ระยะ คือ  ระยะที่  1 การให้ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับหลักการ  แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับ  ผู้นำ  ภาวะผู้นำ  และการพัฒนาภาวะผู้นำแก่พนักงานเทศบาล  ระยะที่  2  การนำความรู้จากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง  ระยะที่  3 การประเมินผลการพัฒนาโดยทำการประเมิน ความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการใช้ภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาลทั้งในระดับผู้บริหาร ระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน  และประชาชนผู้มาใช้บริการ                    

ขั้นตอนที่  3  การปฏิบัติการพัฒนาภาวะผู้นำ  โดยนำหลักสูตรการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎี-ปฏิบัติ  และภาคการศึกษาดูงานในสำนักงานเทศบาลที่มีการบริหารจัดการที่ดี  ที่เทศบาลนครขอนแก่น  และเทศบาลนครนนทบุรี พบว่า  พนักงานเทศบาลที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับหลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี  ผู้นำ ภาวะผู้นำ  การพัฒนาภาวะผู้นำ  และมีเจตคติต่อพฤติกรรมการใช้ภาวะผู้นำหลังการฝึกอบรมดีกว่าก่อนการฝึกอบรม  และ  พนักงานเทศบาลทุกคนให้ความสำคัญต่อการศึกษาแนวทางการนำภาวะผู้นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่  4  การประเมินผลการพัฒนา  โดยทำการประเมินความคิดเห็นของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน  และประชาชนผู้มาใช้บริการ  ต่อพฤติกรรมการใช้ภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล  พบว่า  มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการใช้ภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล  ด้านการใช้ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม  ด้านภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป   ด้านการใช้ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ   ด้านการใช้ภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์  และด้านการใช้ภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการ  โดยรวมในระดับที่มากทุกด้าน

Abstract

The purpose of this research was to develop leadership qualities for Municipal officers of Mukdahan Municipality Office. The research employed a Participatory Action Research approach. The instruments for collecting data included interview, questionnaires on knowledge, attitudes and training programs. The 104 samples of this study  were  comprised of 23 three administrators and 81 staff. The statistics used in analyzing data were: percentage, standard deviation, mean and t-test (Dependent Sample).  The findings were described in accordance with the four-stage study as follows :

1. Phrase I- Leadership Traits Investigation: The findings reported that the leadership traits which suited Municipal administrators and officers’ roles consisted of 5 components: Participative Leadership, Transformational Leadership, Charismatic Leadership, Strategic Leadership, and Stewardship and Servant Leadership.

2. Phrase II- Leadership Development Design: The leadership development design employed  a Training Program approach as a guideline. The Developed Leadership Training Program was divided into 3 stages as follows:

- Stage I. Providing information and experiences in terms of principles and theories concerning leader, leadership and the development of leadership for Municipal officers.

- Stages II. Transferring individual knowledge into practices after completing the training program.

- Stages III. Evaluating leadership development by assessing attitudes of administrators, staff, and clients towards leadership behaviors of Municipal officers.

3. Phrase III- Operation Leadership Development: The training program was composed of theories and practice, and a study tour at the best practice- municipal offices in Khon Khen and Nonthaburi. The data revealed that the mean score of the post-training was higher than the pre-training. Municipal officers gained knowledge concerning principles, theories, leader, leadership development and reported positive attitudes towards behavior of leadership application. In addition, all Municipal officers placed important priority on studying guidelines of leadership and implementing them into practice. This developed better individual performance standards.

4. Phrase IV-  Post-Development Assessment: Questionnaires that examined the ehavior on leadership application were administered. The results reported that all of the leadership opinions of administrators, staff and clients towards Municipal officers’ performance  were, as a whole, at a high level. These included Participative Leadership, Transformational Leadership, Charismatic Leadership, Strategic Leadership, and Stewardship and Servant Leadership.

คำสำคัญ
การพัฒนาภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาล
Keywords
Development of Leadership for Municipal Officers
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,397.80 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 เมษายน 2563 - 09:15:59
View 850 ครั้ง


^