ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำในการประชาสัมพันธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Development of Leadership Enhancement Model in Public Relations for Administrators in Basic Education Schools
ผู้จัดทำ
ระภีพรรณ ร้อยพิลา รหัส 492H97111 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2553
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม
บทคัดย่อ

การวิชัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะและทักษะภาวะผู้นำในการ ประชาสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้าง ภาวะผู้นำในการประชาสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) รายงานผลของ การพัฒนาการเสริมสร้างภาวะผู้นำในการประชาสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามรูปแบบที่พัฒนาขั้น กลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลการใช้สมรรถนะและทักษะภาวะ ผู้นำในการประชาสัมพันธ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11 ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 304 คน กลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนการทดลองใช้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 คน จาก 3 โรงเรียนที่สมัครใจ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบ ประเมินตนเองลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test ชนิด Dependent Samples)

ผลการวิชัยพบว่า

1.  ผลการใช้สมรรถนะและทักษะภาวะผู้นำในการประชาสัมพันธ์ของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

1.1    ระดับการใช้สมรรถนะภาวะผู้นำในการประชาสัมพันธ์ของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ระดับสมรรถนะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

1.2    ระดับการใช้ทักษะภาวะผู้นำในการประชาสัมพันธ์ของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับ มากทุกด้าน

2.    การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำในการประชาสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา สาระกระบวนการ และการวัดและประเมินผล กระบวนการพัฒนา 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 การศึกษาด้วยตนเอง เอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง 8 ชุด เวลา 1 เดือน

ระยะที่ 2 การศึกษาดูงานโรงเรียนดีเด่นด้านการประชาสัมพันธ์ เวลา 1 วัน ระยะที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการและสรุปผลการทดลองใช้ เวลา 1 วัน

3.    ผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะ ภาวะผู้นำ ในการประชาสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.1    ผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะภาวะผู้นำ ในการประชาสัมพันธ์ พบว่า ก่อนการทดลองใช้ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการ ทดลองใช้ โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าก่อนการทดลองใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

3.2    ผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำใน การประชาสัมพันธ์ พบว่า ก่อนการทดลองใช้ ด้านการบริหารแบบมุ่งผลสัมถุทธิและการบริการ ที่ดี อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาศักยภาพครู และโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการทดลองใช้ โดยรวมและรายด้านเกือบทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้น ด้านการบริหารแบบมุ่งผลสัมถุทธ อยู่ในระดับมาก และหลังการ ทดลองใช้โดยรวมสูงกว่าก่อนการทดลองใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Abstract

The purposes of this research were 1) to investigate leadership competencies and skills in public relations of administrators in Basic Education Schools; 2) to develop a leadership enhancement model in public relations for administrators in Basic Education Schools; 3) to report the key findings in relation to the development of Leadership Enhancement Model in public relations for administrators in Basic Education Schools. The study was divided into two phases:

Phase I was related to investigate leadership competencies and skills of administrators in public relations. The samples included 304 administrators in Basic Education Schools at Regional Office 11 under the Ministry of Education in the 2009 academic year.

Phase II was related to implementing a developed leadership enhancement Model. The samples included three administrators from three volunteer Basic Education Schools. The instrument for collecting data included a set of 5 - point rating scale for selfassessment. The statistics used in analyzing data were: mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples)

The findings were as follows:

1.    The results from the application of public relations leadership competencies and skills of administrators in Basic Education Schools were:

1.1    The level of leadership competency in public relations of administrators in Basic Education Schools was at a high level as a whole and in all individual aspects.

1.2    The level of leadership skills in public relations of administrators in Basic Education Schools was at a high level as a whole and in all individual aspects.

2.    The Proposed Leadership Enhancement Model in public relations for administrators in Basic Education Schools composed of 5 components as follows: principles, contents, objectives, procedures, and assessment and evaluation. The model was divided into three stages:

Stage I- A Month Self-Study from eight self-study documents.

Stage II- A Day Study Tour of best-practice schools in public relations.

Stage III- A Day Workshop and Conclusions

3.    The results of the intervention were:

3.1    The leadership competencies enhancement was at the highest level as a whole and all individual aspects. The level of competencies was significant higher at the .001 level after the intervention.

3.2    The leadership skills enhancement was at the highest level as a whole and all individual aspects after the intervention, except for Results-Based Management aspect, which was at a high level. The level of skills was significant higher at the .001 level after the intervention.

คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำ
Keywords
Development of Leadership Enhancement Mode
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 16,355.27 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 เมษายน 2563 - 09:37:16
View 885 ครั้ง


^