ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
The Development of a Leadership Enhancement Program for Students’ Association Committee of Northeastern Technical Colleges under the Office of the Vocational Education Commission
ผู้จัดทำ
จักรี ต้นเชื่อ รหัส 512H97114 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2555
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย, รองศาสตราจารย์ ดร.หาญชัย อัมภาผล, ดร.อนันท์ งามสะอาด
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษา  พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษา  และประเมินผลการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษาจากการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำ  ประชากรในขั้นตอนการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเป็นคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 405 คน  กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 คน  ทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำกับคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร จำนวน 20 คน  ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน  คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน  2) การพัฒนาโปรแกรม  3) การทดลองใช้โปรแกรม  และ 4) การติดตามภายหลังการทดลองใช้โปรแกรม  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประเมินภาวะผู้นำก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์  สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าที  t-test (Dependent Samples) 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษา  ประกอบด้วย  1) มีศิลปะในการสื่อสารและจูงใจ  2) กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง  3) มีความเฉลียวฉลาดในการแก้ปัญหา  4) มีวิสัยทัศน์และคิดสร้างสรรค์  5) มีความกระตือรือร้น  6) มีความเชื่อมั่นในตนเอง  7) มีความรับผิดชอบสูงและมุ่งมั่น  8) รู้จักการทำงานเป็นทีม 9) มีมนุษยสัมพันธ์  10) มีคุณธรรมจริยธรรม  11) มีบุคลิกภาพดี  และ 12) กล้าตัดสินใจ

2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษา  มีองค์ประกอบ 2 ส่วน  คือ  ส่วนคำแนะนำและส่วนรายละเอียด  ส่วนคำแนะนำประกอบด้วย  คำชี้แจง  ความเป็นมาและความสำคัญ  แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน  หลักการ  วัตถุประสงค์  เนื้อหา   ลำดับขั้นในการดำเนินกิจกรรม  เทคนิค  สื่อ  การวัดและประเมินผล  และ ตารางโปรแกรม ส่วนรายละเอียด  ประกอบด้วย  ชื่อกิจกรรม  วัตถุประสงค์  เวลาที่ใช้  สื่อประกอบกิจกรรม  วิธีการดำเนินกิจกรรม  การประเมินกิจกรรม  และ แนวสรุปกิจกรรม  ผลการประเมินความเหมาะสมภาพรวมและรายละเอียดแต่ละกิจกรรมของโปรแกรมจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการประเมินภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษาจากการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำได้ผลการวิจัย ดังนี้

3.1 คณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษามีศิลปะในการสื่อสารและจูงใจ  กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง  และ มีความเฉลียวฉลาดในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.2 หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมไปแล้ว 2 เดือน  คณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษาประเมินตนเองว่า  มีภาวะผู้นำสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.3  จากการประเมินหลายกลุ่มหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมไปแล้ว 2 เดือน คณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษา  มีภาวะผู้นำสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรมหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were: to explore the leadership components of vocational students’ association committee, to develop a leadership enhancement program for the vocational students’ association committee, and to evaluate the leadership development of the vocational students’ association committee through the leadership enhancement program. The population at a fundamental information stage was the vocational students’ association committee of Northeastern Technical Colleges comprising a total of 405 students; 210 sampling students. The leadership enhancement program was implemented involving the 20 vocational students from the students’ association committee  of  Sakon Nakhon Technical College. The research was divided into four stages as follows: 1) document inquiry, 2) program development, 3) program implementation, and 4) program monitoring. The data collection was based on the leadership assessment before and after the intervention. A software package was utilized for data analysis. The statistics used in this research were percentage, mean, standard deviation, and  t-test (Dependent Samples).

The findings were as follows:

1. The 12 leadership components of the vocational students’association committee were: 1) Effective use of the art of communication and motivation, 2) Being able to express oneself related to social acceptance, 3) Being smart in problem-solving, 4) Having vision and creative thinking, 5) Being alert, 6) Self confidence, 7) Responsibility and attentiveness, 8) Being able to work in a team, 9) Having  human-relations skill, 10) Having moral and ethics, 11) Good personality and 12) Being decisive.

2. The components of the leadership enhancement program for the vocational students’ association committee comprised two sections: the instruction section and the details section. The instruction section consisted of instruction, background and importance, fundamental concepts and theory, principles, objectives, contents, procedures of activities, activity assessment, techniques, materials, measurement and evaluation, and program schedule. The details section comprised a title of activity, objectives, time frame, material aids, procedures of activities, activity assessment, and a guideline of activity conclusion. The results from the appropriateness assessment as a whole and each activity of the program assessing by the expertise were at the highest level.

3. The results from the leadership assessment of the vocational students’ association committee through the leadership enhancement program were as follows:

3.1  The vocational students’ association committee had communication arts and motivation, expressed themselves related to social acceptance, was smart in solving problem at a higher level than before participating in the leadership enhancement program at a significance level of .01.

3.2  After the two-month intervention, the results from self-assessment revealed that the vocational students’ association committee had higher leadership than before attending the intervention at a significance of .01 level.

3.3  From the assessments of stakeholders, after the two-month intervention, the vocational students’ association committee had higher leadership than before attending the intervention at a significance of .01 level.

4.  The samples’ satisfaction assessment, after the two- month intervention, as a whole, was at the highest level.

คำสำคัญ
-
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,992.57 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 มีนาคม 2562 - 23:54:01
View 1169 ครั้ง


^