สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน 4) เปรียบเทียบความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) ศึกษาปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ 2 ชุด และตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านโสกก่ามนาตาไก้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 45 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 23 คน เป็นกลุ่มทดลอง และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 22 คน เป็นกลุ่มควบคุม ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ 2) ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดความรับผิดชอบ 4) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Inbox : E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples, t-test for Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (MANCOVA) และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (ANCOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ โดยรวมมีค่าเท่ากับ 0.70 และชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบปกติ มีค่าโดยรวมเท่ากับ 0.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
2. ความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และกลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้ร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และกลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบปกติ ก่อนเรียนไม่แตกต่างกัน แต่หลังเรียน นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ มีคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน เมื่อเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบปกติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ตัวแปรชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ 2 แบบ คือ ชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และชุดฝึกทักษะภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบปกติ และตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับสูง ปานกลาง และต่ำ มีปฏิสัมพันธ์กัน ส่งผลต่อความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this study were to : 1) develop the learning skill practice package in Thai language based on the cooperative learning of student Team Achievement Division (DTAD) technique with Yonisomanasikan thinking to meet the efficiency criteria, 2) compare the responsibility, analytical thinking, learning achievement between before and after learning, 3) compare the responsibility, analytical thinking and learning achievement of Prathomsuksa 6 students who had different learning achievement motivation, 4) compare responsibility, analytical thinking and learning achievement, and 5) study the interaction between the variance of two learning achievement motivation. The sampling group was Prathomsuksa 6 students in the second semester of academic year 2014 at Bansokekramnatakai School under the office of Beungkan Primary Educational Area. The 45 students obtained from 2 classrooms which were 23 persons from class 6/1 (the experimental group) and 22 persons from class 6/2 (the control group) using cluster random sampling and simple random sampling techniques. The instruments used in this research consisted of ; 1) the learning skill practice package in Thai language based on the cooperative learning of STAD technique with Yonisomanasikan thinking, 2) the learning skill practice package in Thai language based on traditional learning, 3) the responsibility test, 4) the analytical thinking test, 5) the learning achievement test, and 6) the learning achievement motivation teat. The data were analysis by means of mean, standard deviation, effectiveness index, t-test, Analysis of Variance (ANOVA) Multivariate Analysis of Covariance (MANCOVA), and Analysis of Covariance (ANCOVA).
The results of the study were as follow :
1. The effectiveness index of the learning skill practice package in Thai language based on the cooperative learning of STAD technique with Yonisomanasikan thinking, as a whole, was 0.70 and the learning skill package in Thai language based on the traditional learning, as a whole, was 0.52 which was higher than the set criteria.
2. The responsibility, the analytical thinking and learning achievement of Prathom suksa 6 student learning through the learning skill practice package in Thai language based on the cooperative learning of STAD technique with Yonisomanasikan thinking and based on the traditional learning after learning were higher than before at .05 level of significance.
3. The responsibility, the analytical thinking and learning achievement of Prathomsuksa 6 students learning through the learning through the learning skill practice package in Thai language based on the cooperative learning of STAD technique with Yonisomanasikan thinking and the students leaning through the traditional learning between before and after were not different. After learning, the students who had learnt the leaning skill practice package based on the cooperative learning of STAD technique with Yonisomanasikan thinking gained the mean of responsibility, analytical thinking and learning achievement more than the students who had learnt through the learning skill practice package based on the traditional learning at the .05 level of significance.
4. The responsibility, the analytical thinking and the learning achievement of Prathomsuksa 6 students with different learning achierement after learning through the learning skill practice package in Thai language based on the cooperative learning of STAD technique with Yonisomanasikan thinking and based on the traditional learning were different at the .05 level of significance.
5. The variances of two learning practice packages which were the one based on the cooperative learning of STAD technique with Yonisomanasikan thinking and the other one based on traditional which was divided into three levels (higher, moderate, low). This kind of interaction affected the students’ responsibility, the analytical thinking and the learning achievement statistically different at the .05 level of significance.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,125.82 KB |