ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
คุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Quality of Service Providing of the Office of Graduate School, Sakon Nakhon Rajabhat University
ผู้จัดทำ
ชิษณุทัศน์ พิชยประภาพัฒน์ รหัส 56426423108 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผศ.ดร.ละมัย ร่มเย็น, ผศ.ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ผู้มารับบริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่กำลังศึกษาอยู่ ณ ปีการศึกษา 2557 จำนวนทั้งสิ้น 305 คน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่  ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถาม ประเภทเลือกตอบ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่า t-test  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)  ด้วยค่า F-test หากพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะใช้ทดสอบรายคู่แบบ Least Significant Difference (LSD) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.8 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.3 เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 62.6 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 79.7  ประกอบอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 81.6 การได้รับบริการติดต่อทุกเดือน คิดเป็นร้อยละ 74.1 การรับรู้ข้อมูลประชาสัมพันธ์มากกว่า 1 ครั้ง / ภาคเรียน คิดเป็นร้อยละ 73.8

2. คุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ และด้านความเข้าใจผู้รับ บริการ รองลงมาคือ ด้านความมั่งคงปลอดภัย ด้านความพร้อมให้บริการ ด้านการสร้างความสัมผัสได้ ด้านความเชื่อถือได้ ด้านความไว้วางใจ ด้านความสามารถให้บริการ และด้านความมีอัธยาศัย ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความสามารถเข้าถึงบริการ

3. การเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สามารถสรุปผลได้ ดังนี้

3.1 จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ พบว่า คุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมให้บริการ ด้านความสามารถเข้าถึงบริการ ด้านความมีอัธยาศัย ด้านความเชื่อถือได้ และด้านการสร้างความสัมผัสได้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.2 จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ  พบว่า  คุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3.3 จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านประเภทนักศึกษา ระดับการศึกษา การได้รับบริการ และการรับรู้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ พบว่า  คุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน

3.4 จำแนกตามคุณลักษณะด้าน อาชีพ พบว่า คุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ทั้งในภาพรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยนำข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวมและนำไปสร้างแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มีจำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านความไว้วางใจ 2) ด้านความสามารถให้บริการ 3) ด้านความสามารถเข้าถึงบริการ 4) ด้านความมีอัธยาศัย

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate a degree of service providing quality of the Office of Graduate School, Sakon Nakhon Rajabhat University (SNRU), 2) to compare the service providing quality of the Office of Graduate School, SNRU based on personal background, and 3) to examine a way to the development of service providing quality of the Office of Graduate School, SNRU.  The sample used was a total of 305 graduate students of SNRU who received service of the Office of Graduate School, SNRU and were enrolled for study in academic year 2014.  This researcher determined the sample size using Taro Yamane’s formula for calculation and selected the sample by stratified random sampling.  The instrument used to collect data was a check list questionnaire whose entire reliability coefficient was .95.  Data analysis was done using a statistical computer package.  Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA.  If any difference was found between the means, a pairwise comparison would be conducted using LSD method.

The findings disclosed as follows:

1. From the background of sample, most of the respondents or 53.8% were female; 42.3% were in the 31-40 age range, 62.6% were a master’s degree student; 79.7% were a bachelor’s degree student; 81.6% were a government official/state enterprise employee; 74.1% were given service every month; and 73.8% were informed from public relations more than 1 time/semester.

2. The quality of service providing of the Graduate School, SNRU as a whole was at high level.  Considering it by aspect, all were found at high level.  The aspects that gained the highest mean scores were of creating the relationship and of understanding the service receivers.  The next lower ranking aspects were those of security and safety, readiness to give service, creating touch-ability, trustworthiness, dependability, ability to give service, and being friendly; and the aspect that gained the lowest mean score was that of ability to access the service.

3. The comparison of service providing quality of the Office of Graduate School, SNRU according to personal background was able to be concluded as follows:

3.1 As classified by sex, its service providing quality as a whole and each aspect was found significantly different at the .01 level.  It included these aspects: readiness to give service, ability to access the service, being friendly, trustworthiness, and creating touch-ability.

3.2 As classified by age, its service providing quality as a whole and each aspect was found not different.

3.3 As classified by type of student, year level of study, service receiving and being informed by public relations, its service providing quality as a whole and each aspect was found not different.

3.4 As classified by occupation, its service providing quality as a whole and each aspect was found significantly different at the .01 level.

4. This study proposed a way in developing service providing quality of the Office of Graduate School, SNRU by bringing the items whose mean scores were lower than the total average in the 4 aspects, namely 1) dependability, 2) ability to give service, 3) ability to access the service, and 4) being friendly to create a way in developing the quality.

คำสำคัญ
คุณภาพการให้บริการ, สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย
Keywords
Quality of Service Providing, Graduate School Office
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,042.31 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
20 มีนาคม 2562 - 00:37:29
View 1780 ครั้ง


^