ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนก สามัญศึกษา สังกัดมหาเถรสมาคม
Causal Relationship Model of Factors Affecting Organizational Citizenship Behavior of Teachers in General Buddhist Scripture School, General Education Division under Sangha Council
ผู้จัดทำ
เอกลักษณ์ เพียสา รหัส 56632233107 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง, ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครู 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครู การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสองระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนารูปแบบ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.22 ถึง 0.90 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม ปีการศึกษา 2558 จำนวน 550 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และใช้โปรแกรม LISREL Version 8.72 วิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะงาน คุณภาพชีวิตในการทำงานความพึงพอใจใจงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครู

2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 9.06, p-value = 1.000, df = 93, χ2/df = 0.097, RMSEA = 0.000, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, Largest Standardized Residual = 0.82 โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูได้ร้อยละ 89.00

3. คุณลักษณะงานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูมากที่สุด รองลงมา คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และความผูกพันต่อองค์การ ตามลำดับ อิทธิพลทางอ้อมไม่มีตัวแปรใดมีอิทธิต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครู ภาวะผู้นำการเปลี่ยนมีอิทธิพลรวมต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop causal relationship model of Factors affecting organizational citizenship behavior of teachers 2) verify the developed of causal relationship model concordance of factors affecting organizational citizenship behavior of teachers with the empirical data, and 3) inspect direct effect, indirect effect and total effect of causal factors affecting organizational citizenship behavior of teachers. The study was divided into 2 stages as follows. The first stage was to develop model by exploring relevant documents and researches and expert interview. Then content analysis was applied to analyze the data. The second stage was to verify of model concordance. The data was gathered by using questionnaire with 5-points scales. Its discrimination value was between 0.22 to 0.90 and its entire reliability value was .98. The samples were 550 teachers in General Buddhist Scripture School, during academic year 2015. The data were analyzed to figure out frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. Moreover, LISREL Version 8.72 was also utilized to assess the causal relationship model.

The results of this presented revealed that :

1. The causal relationship model of Factors affecting organizational citizenship behavior of teachers in General Buddhist Scripture School, General Education Division consisted of 6 factors as follows : transformational leadership, job characteristic, quality of work life, 4) job satisfaction, 5) organizational Commitment, and 6) organizational citizenship behavior of teachers.

2. The developed model has goodness-of-fit with the empirical data with the statistics as follows: χ2 = 9.06, p-value = 1.000, df = 93, χ2/df = 0.097, RMSEA = 0.000, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, and Largest Standardized Residual = 0.82. The transformational leadership, job characteristic, quality of work life, job satisfaction, organizational Commitment, variables could explain the variability of organizational citizenship behavior of teachers was 89.00.

3. Direct effects, from highest to lowest, were job characteristics, leadership change, and organizational commitment, respectively. Indirect effects no parameters have effect the organizational citizenship behavior of teachers. Total effects highest, was Leadership change effect on organizational citizenship behavior of teachers with the .01 level of statistical significance.

คำสำคัญ
รูปแบบ, ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครู โรงเรียนพระปริยัติธรรม
Keywords
Model, Causal Relationship, Organizational Citizenship Behavior of Teachers, General Buddhist Scripture School
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,363.63 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
16 พฤษภาคม 2562 - 11:41:35
View 621 ครั้ง


^