ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคคลโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Development of Personnel Administration Indicators of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 23
ผู้จัดทำ
ศราวุธ สายตา รหัส 58421236126 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า, รองศาสตาจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคคลโรงเรียนมัธยมศึกษาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคคลโรงเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคคลโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคคลโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.35 – 0.78 และความเชื่อมั่น 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคคลโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 25 องค์ประกอบย่อย และ 116 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) การวางแผนอัตรากำลัง จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ 2) การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง จำนวน 25 ตัวบ่งชี้ 3) การพัฒนาบุคลากร จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ 4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ 5) วินัยและการรักษาวินัย จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ และ 6) การออกจากราชการ จำนวน 23 ตัวบ่งชี้

2. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารงานบุคคลโรงเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมี ค่าไค - สแควร์ (Chi - Square)  100.97 ค่าองศาอิสระ (df) 102 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) 0.51 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) 0.98 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) 0.94 ความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) 0.000 ดัชนีที่แสดงขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับ (CN) 560.26 และน้ำหนักองค์ประกอบของทั้ง 116 ตัวบ่งชี้ มีค่าระหว่าง 0.40 – 0.77 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

This research aimed to develop the school personnel management indicators of secondary schools and to check the goodness of fit of the personnel management structure model in secondary schools with the empirical data. The research procedure consisted of two phases: phase 1, the development of personnel administration indicators of schools, which was conducted by studying related documents and research, and phase 2, the validation of the structural equation model of personnel administration of schools using Confirmatory Factor Analysis. The data were collected from 400 administrators and teachers under the Secondary Educational Service Area Office 23 by utilizing Multi-Stage Random Sampling. The research instruments were: a 5-rating scales questionnaire, which obtained the content validity index between 0.60 to 1.00, the discriminative power index between 0.36 to 0.78, and the reliability index at 0.98. The statistics used in data analysis was Confirmatory Factor Analysis.

The results were:

1. The personnel administration indicators of the secondary schools consisted of six principle components, 25 subcomponents, and 116 indicators, including 20 indicators in manpower planning, 25 indicators in recruitment and appointment, 11 indicators in personnel development, 18 indicators in performance evaluation, 19 indicators in disciplines and discipline maintaining, and 23 indicators in retirement.

2. The structural model of instructional personnel administration indicators responded well to the empirical data which can be observed from the statistical values as follows: Chi-square = 100.97, degree of freedom (df) = 102, p = 0.51, goodness-of-fit index (GFI) = 0.98, adjusted goodness-of-fit index (AGFI) = 0.94, root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.000, Critical N (CN) = 560.26, factor loading of 116 indicators= 0.40 – 0.77, and statistical significance at the level of .01.

คำสำคัญ
ตัวบ่งชี้, การบริหารงานบุคคล, โรงเรียนมัธยมศึกษา
Keywords
indicators, personnel administration, secondary schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 13,324.17 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 มีนาคม 2564 - 11:28:57
View 890 ครั้ง


^