ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11
A Model for Teacher Development in Information Communication Technology Utilization for Learning Management in Primary Schools under the Regional Education Office No.11
ผู้จัดทำ
อินทิรา ชูศรีทอง รหัส 58620248102 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาครู 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครู และ 3) ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาครู โดยการนำไปทดลองใช้ ซึ่งแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบการพัฒนาครูในการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และการวิจัยเชิงสำรวจสอบถามระดับการปฏิบัติของครูในการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ ประชากรได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 จำนวน 14,950 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงสำรวจ จำนวน 375 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย การสร้างและพัฒนารูปแบบ การตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย สกลนคร นครพนมและมุกดาหาร รวม 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบการพัฒนาครู มี 5 องค์ประกอบ คือ ทักษะพื้นฐานด้าน ICT ทักษะการใช้ ICT ในการติดต่อสื่อสาร ทักษะการรู้ทัน ICT ทักษะการบูรณาการ ICT ในการเรียนการสอน และคุณธรรม จรรยาบรรณการใช้ ICT โดยรวมมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้เป็นกรอบในการพัฒนาครูได้

2. รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ คือ EAIT Model ประกอบด้วย การเริ่มต้น (Emerging) การประยุกต์ (Applying) การแพร่กระจาย (Infusing) และปรับโฉมใหม่ (Transforming)

3. ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาครูในการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ก่อนการทดลองใช้ รูปแบบ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการทดลองใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) มีประสิทธิภาพ 81.20/87.14 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และมีประโยชน์ สามารถนำไปใช้พัฒนาครู ให้มีทักษะการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนได้

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the components of teacher development, 2) construct and develop a model for teacher development, and 3) validate the effectiveness of the model for teacher development. This research was divided into three phases: Phase I was related to an investigation of components and model for teacher development in utilizing information communication technology (ICT) for learning management in primary schools under the Regional Education Office No.11 (REO 11).

This phase involved collecting data from various sources- document inquiries, in-depth interviews, model validity and confirmation with ten experts, and a survey with 5-point scale questionnaires examining the performance level of ICT utilization for learning management. The samples were 375 teachers drawn from a total of 14,950 teachers working at primary schools under the REO 11. The statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation and the priority needs index (PNImodified). Phase II was related to model construction and confirmation. This phase involved a model construction and development. The developed model was valided and assessed by ten experts. Phase III was related to a model Implementation with 30 teachers from primary schools under the REO 11 covering Sakon Nakhon Province, Nakhon Phanom Province and Mukdahan Province. Data were analyzed through mean, and standard deviation.

The findings revealed that:

1. The five components of teacher development in ICT utilization for learning management in primary schools under the REO 11 consisted of basic ICT skill, ICT for communication skill, ICT literacy skill, ICT integration in learning and teaching skill, and moral and ethics for using ICT. The aforementioned components were regarded as appropriate in overall and could be employed in a framework for teacher development.

2. The model for teacher development in ICT utilization for learning management was established and presented as EAIT Model with the five stages of a development process, comprising Emerging, Applying, Infusing and Transforming.

3. The effectiveness of the model for teacher development in ICT utilization for learning management as a whole and each aspect was at a high level. The mean scores from the post-implementation period was at the highest level, compared to the pre-implementation period at a mediam level. The tool employed in the development process was the e-Book program which had the efficiency of 81.20/ 87.14 and met the 80/80 criteria. The post-test score was higher than the pre-test score at the .01 statistical significance level. The developed model was appropriate, feasible, and useful to enchance teachers’ ICT skills for learning management.

คำสำคัญ
การพัฒนาครู, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
Keywords
Teacher Development, Information Communication Technology (ICT), Electronic Books
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 112,037.07 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
20 กุมภาพันธ์ 2564 - 14:20:39
View 2020 ครั้ง


^