ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11
A Model for Developing Integrative Leadership of Teachers in Primary Schools under the Regional Education Office No.11
ผู้จัดทำ
อนุสรา พิพิทธภัณฑ์ รหัส 58620248109 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู และ 3) หาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยใช้วิธีแบบผสม (Mixed Method) มีการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงสำรวจ คือ ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 จำนวน 393 คน ยืนยันองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู โดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น (SEM) ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู และระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ ครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 30 คน 

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ทักษะการบูรณาการด้านการพัฒนาหลักสูตร 2) ทักษะการบูรณาการด้านการจัดการเรียนรู้ 3) ทักษะการบูรณาการด้านการใช้เทคโนโลยี 4) ทักษะการบูรณาการด้านการสร้างความสัมพันธ์และมีส่วนร่วม และ 5) ทักษะการบูรณาการด้านการวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า KMO = 0.949 และการทดสอบสมมติฐาน Bartlett’s Test of Sphericity มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่า ข้อมูลมีความเหมาะสมที่จะใช้เทคนิค Factor Analysis และผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น (SEM) พบว่าโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าดัชนีสอดคล้องกลมกลืนของรูปแบบ ดังนี้ chi ^{2} = 1956.161, chi ^{2}/dƒ = 1.105, dƒ = 1771, P-value = 0.001, GFI = 0.873, CFI = 0.987, RMSEA = 0.016, NFI = 0.877 และ TLI = 0.984 ซึ่งแสดงว่า ตัวแปรสังเกตได้สามารถวัดตัวแปรแฝงภายนอกของภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครูได้เป็นอย่างดี

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ar{x}  = 4.70) ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการพัฒนา 4) เนื้อหาของรูปแบบ และ 5) การวัดและประเมินผลรูปแบบ โดยมีกระบวนการพัฒนาแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบชุมชนวิชาชีพ (PLC) 3) การฝึกปฏิบัติจริง และ 4) การกำกับ ติดตาม และประเมินผล

3. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู พบว่า ผลการประเมินภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู หลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 4.56 (ar{x}  = 4.56) และสูงกว่าก่อนการทดลอง (ar{x}  = 2.91) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 56.70 และผลการประเมินพัฒนาการของภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครู ระยะติดตาม มีค่าเฉลี่ยโดยรวม (ar{x}  = 4.66) สูงกว่าหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หมายความว่า ครูที่เข้าร่วมการทดลองมีพัฒนาการของการมีภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของครูสูงขึ้นกว่าเดิม คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้า 2.19

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine the components of integrative leadership of teachers in primary schools under the Regional Education Office No.11, 2) to create and develop the integrative leadership development model for teachers, and 3) to identify the effectiveness of the integrative leadership development model for teachers. This research was conducted by using Research and Development and Mixed Method approaches, consisting of three phases: Phase I identified the components of integrative leadership of primary school teachers. The sample group for a survey research consisted of 393 teachers in primary schools under the Regional Education Office No.11. Factor analysis and structural equation modelling (SEM) were applied to confirm the components of integrative leadership of teachers; Phase II was related to constructing and developing the model for developing integrative leadership of teachers; and Phase III concerned the implementation of the developed model. The sample group included 30 primary school teachers under the Regional Education Office No.11.

The findings were as follows:

1. The integrative leadership of primary school teachers consisted of five components as follows: 1) Integrative skills in curriculum development, 2) Integrative skills in learning management, 3) Technology integration skills, 4) Integrative skills in building relationship and participation, and 5) Integrative skills in measurement and evaluation. The examination results concerning the relationship of variables revealed that the Kaiser-Meyer-Olkin (KMO) measure of sampling adequacy results was .949, while the Bartlett’s Test of Sphericity was statistically significance at 0.05 level, indicating appropriateness for Factor Analysis. The Structural Equation Modelling (SEM) was then applied to validate the results of the factor analysis and to test the hypotheses. The results of data analysis revealed that the SEM was consistent with empirical data with the harmony index indicators as follows: chi ^{2} = 1956.161, chi ^{2}/dƒ = 1.105, P-value = 0.001, GFI = 0.873, CFI = 0.987, RMSEA = 0.016, NFI = 0.877, and TLI = 0.984. These results indicated that the observed variables were able to measure the exogenous latent variables of the integrative leadership of teachers.

2. The integrative leadership development model of primary school teachers as a whole was appropriate at a high level (ar{x}  = 4.70), comprising 1) principles, 2) objectives, 3) development process, 4) contents, and 5) measurement and evaluation. The development process was divided into four stages: 1) Training Workshop, 2) Professional Learning Community (PLC), 3) Practice in Actual Setting, and 4) Supervision, Monitoring and Evaluation. 

3. The effectiveness of the developed model revealed that: 1) after the implementation, the mean score of teachers’ integrative leadership behaviors was 4.56 (ar{x}  = 4.56) and higher than that of before the implementation (ar{x}  = 2.91) at the 0.05 level of significance and the percentage of progression of 56.70 percent, 
2) The development assessment results of teachers’ integrative leadership behaviors at the follow-up stage as a whole had the mean score (ar{x}  = 4.66) higher than that of the pre-implementation with the 0.05 level of significance. These results indicated that the teachers demonstrated increased levels of integrative leadership behaviors with the percentage of progression of 2.19 percent.

คำสำคัญ
รูปแบบการพัฒนา, ภาวะผู้นำเชิงบูรณาการ
Keywords
Model Development, Integrative Leadership
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 29,096.22 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 ตุลาคม 2563 - 16:17:37
View 1461 ครั้ง


^