สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดจิตสาธารณะ แบบประเมินการทำกิจกรรมสำหรับครู และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนที่พัฒนาขึ้นมีส่วนประกอบ ดังนี้ ชื่อชุดกิจกรรม วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนรู้
ภาระงานหรือชิ้นงาน สื่อ/อุปกรณ์ เวลาที่ใช้ และการประเมินผล ผลการประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบของชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 และผลการประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้ อยู่ในระดับมาก และคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 และชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.15/86.73 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) จิตสาธารณะของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตร สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) จิตสาธารณะของนักเรียนหลังใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรสิ้นสุดลงกับหลังใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเป็นระยะเวลา 1 เดือน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this study was to create and determine efficiency of extra-curricular activity set to promote public consciousness of upper secondary students in schools under Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. The sample group comprised 40 upper secondary students from Sakonrajwitayanukul School, academic year B.E. 2563 (2020), who consented to participate in the study. Tools for data collection were public consciousness test, activity evaluation form for teachers and student satisfaction survey. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test dependent samples.
The results can be concluded as follows.
1) The components of the extra-curricular activity set to public consciousness of higher secondary students in schools under Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon consisted of activity name, activity objectives, learning activities, tasks, media and equipment’s, task duration and evaluation. The components of the developed extra-curricular activity set to promote public consciousness of students yielded the IOC at 1.00 and the appropriateness for implementation was at a high level (x= 2.83). The manual of extra-curricular activity set to promote public consciousness of students obtained the IOC at 1.00, and the efficiency of the extra-curricular activity set to promote public consciousness of students was at 83.15/86.73, which higher than the standard criteria of 80/80.
2) Students’ public consciousness after participating in the extra-curricular activity set to promote public consciousness of students was higher than before participation with statistical significance at .01.
3) Students’ public consciousness after immediate and one month after participations of the extra-curricular activity set to promote public consciousness of students showed difference in statistical significance at .01.
4) Students’ satisfaction towards the implementation of the extra-curricular activity set to promote public consciousness of students was at the highest level
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 10,051.62 KB |