สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา 2) ตรวจสอบความเหมาะสม ความถูกต้อง และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา และ 3) พัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนากลยุทธ์ ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน การศึกษาพหุกรณีโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 3 โรงเรียน และประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสม ความถูกต้องและความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ ดำเนินการโดยการสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 380 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์ ดำเนินการโดยร่างคู่มือการใช้กลยุทธ์แล้วนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ กลยุทธ์ที่ 3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาด้านกระบวนการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 5 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาด้านทรัพยากรในการจัดการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาด้านเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลยุทธ์ที่ 7 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาด้านการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร
2. กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก มีความเหมาะสม ความถูกต้อง และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก (( ×) ̅ = 4.11, S.D. = 0.47, ( ×) ̅ = 4.10, S.D. = 0.47, ( ×) ̅ = 4.07, S.D. = 0.44)
3. คู่มือการใช้กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (( ×) ̅ = 4.40, S.D. = 0.56)
The objectives of this research were to: 1) develop the strategies of educational information and communication technology implementation; 2) examine the appropriateness, correctness, and usefulness of the strategies of educational information and communication technology implementation, and 3) develop a manual of educational information and communication technology strategy implementation for small-sized primary schools under Basic Education Commission offices in the Northeast. This study was a mixed-method study. The research procedures were divided into three phases. The first phase was strategy development which conducting by studying relevant documents and research articles, interviewing seven experts, conducting a multi-case studies of three model schools and organizing a focus group meeting of nine experts. The second phase was the examination of appropriateness, correctness, and usefulness of the developed strategies. This phase was conducted by inquiring the opinions from the sample group of 380 participants, consisting of school directors, teachers who were in charge of academic affairs and teachers who were responsible for information and communication technology. The sample size was determined by the application of Krejcie & Morgan able. The samples were randomly selected using multi-stage sampling. The tool employed in data collection was a 5-rating scale questionnaire. The third phase was the development of a manual for strategy implementation by drafting the manual and presenting to five experts for appropriateness evaluation. The tool used in this phase was a 5-rating scale questionnaire. Statistics employed in data analysis were mean and standard deviation.
The results were as follows.
1. The strategies of educational information and communication technology implementation for small-sized primary schools consisted of seven strategies: Strategy 1 on educational information and communication technology implementation in school internal management, Strategy 2 on educational information and communication technology implementation in information technology infrastructure, Strategy 3 on educational information and communication technology implementation in learning management, Strategy 4 on educational information and communication technology implementation in learning process, Strategy 5 on educational information and communication technology implementation in learning management resources, Strategy 6 on educational information and communication technology implementation in information technology cooperation network and Strategy 7 on educational information and communication technology implementation in personnel encouragement and development.
2. The appropriateness, correctness, and usefulness of the strategies of educational information and communication technology implementation for small-sized primary schools were at high levels (( ×) ̅ = 4.11, S.D. = 0.47, ( ×) ̅ = 4.10, S.D. = 0.47, ( ×) ̅ = 4.07, S.D. = 0.44).
3. The overall appropriateness of the manual of educational information and communication technology strategy implementation for small-sized primary schools was at high level (( ×) ̅ = 4.40, S.D. = 0.56).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 4,055.46 KB |