ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Development of a Structural Equation Model of Factors Affecting Working Empowerment of Teachers in Opprtunity Expansion Schools in the Northeast
ผู้จัดทำ
ภูวไนย สุนา รหัส 58632233107 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง , ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัยมีสองระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนารูปแบบ โดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่สอง เป็นการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 500 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.41 – 0.95 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ การเสริมสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ การเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือ การเสริมสร้างภาวะผู้นำ การเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู

2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 31.77, df = 61, p-value = 0.99, χ2/df = 0.52, RMSEA = 0.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.98) โดยการเสริมสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ มีอิทธิพลสูงสุดต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู รองลงมา คือ การเสริมสร้างภาวะผู้นำ การเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือ และการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ตามลำดับ โดยทั้ง 4 ตัวแปร สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูได้ร้อยละ 51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 

Abstract

The objectives of this research was to develop and examine the congruence of a structural equation model of factors affecting working empowerment of teachers in opportunity expansion schools in the northeast. The research procedures were divided into two phases: 1) the development of a structural equation model by intensive reviewing of related literature and 5 experts interviewing and 2) the examination of the congruence of the model. The samples consisted of 500 administrators and teachers in opportunity expansion schools in the northeast, academic year 2020. The participants were selected using Multi-Stage Sampling. The research instrument was a set of 5 rating-scale questionnaires, which obtained validity index between 0.80 and 1.00, discriminative power index between 0.41-0.95 and reliability index at 0.99, Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson Product-moment Correlation Coefficient, and Structural Equation Modeling.

The research findings were as follows.

1. The structural equation model of factors affecting working empowerment of teachers in opportunity expansion schools in the northeast comprised 5 factors, namely organizational atmosphere and culture, cooperation development, leadership enhancement, working motivation and empowerment.

2. The developed model was congruent with empirical data: Chi-square = 31.77, df = 61, p-value = 0.99, χ2/df = 0.52, RMSEA = 0.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.98. Organizational atmosphere and culture obtained the highest affect towards working empowerment of teachers, followed with leadership, cooperation development and work motivation, respectively. The four factors could explain the variance of working empowerment of teachers at 51 percent, with statistical significance at .01
 

คำสำคัญ
ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Keywords
Structural equation model, Working empowerment of teachers, Opportunity expansion school
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,743.29 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 กุมภาพันธ์ 2566 - 13:47:11
View 562 ครั้ง


^