ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Conditions, Problems and Guidelines for Developing Budget Management in Schools under the Office of Secondary Education Service Area 23
ผู้จัดทำ
ดรัณภพ เย็นวัฒนา รหัส 59421229213 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล , ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับสภาพและปัญหาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ และหัวหน้ากลุ่มสาระฯ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน 3) หาแนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ และหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 220 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 61 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ จำนวน 45 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระ จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามรายข้ออยู่ระหว่าง 0.243 – 0.751 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.960 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ (F - test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับน้อย

2. สภาพและปัญหาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน

3. สภาพและปัญหาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 

4. สภาพและปัญหาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. แนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 เสนอแนะไว้ 8 ด้าน มีแนวทางพัฒนาดังนี้
            5.1 ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา ควรมีการจัดทำรายการทรัพยากรเพื่อเป็นสารสนเทศ มีการวางระบบหรือกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน
            5.2 ด้านการควบคุมดูแล บำรุงรักษา และจำหน่ายพัสดุ ควรมีการจัดทำทะเบียนคุมบัญชีทรัพย์สินและบัญชีวัสดุ ทุกประเภทให้เป็นปัจจุบัน
            5.3 ด้านการเบิกเงินจากคลัง โรงเรียนควรมีการเตรียมเอกสารให้ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้องควรมีการดำเนินการเบิกงานให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง
            5.4 ด้านการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน บุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน เก็บรักษาเงิน และจ่ายเงิน ต้องดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์ 
            5.5 ด้านการนำเงินส่งคลัง ควรมีบุคลากรที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเงินส่งคลังเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            5.6 ด้านการจัดทำบัญชีการเงิน การจัดทำบัญชีการเงินควรมีความชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้
            5.7 ด้านการจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน โรงเรียนควรมีการจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงินให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
            5.8 ด้านการจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน โรงเรียนควรดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการใช้จ่ายงบประมาณให้ถูกต้อง
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine conditions and problems of budget management in schools under the Office of Secondary Education Service Area 23; 2) to compare school budget management as perceived by school administrators, heads of budget management group and heads of learning department with different positions, work experience and school sizes; and 3) to establish guidelines for developing school budget management. The samples consisted of 61 school administrators, 45 heads of the budget management group, and 114 heads of learning department in schools under the Office of Secondary Education Service Area 23, in the academic year 2018, yielding a total of 220 participants. The instruments for data collection was a set of questionnaires concerning conditions and problems of school budget management, with item discriminative power between 0.243 and 0.751 and the reliability of 0.960. An interview form was administrated to establish the guidelines for developing school budget management. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation and F – test (One – Way ANOVA).

The findings were as follows:

1. The conditions of school budget management, as a whole and each aspect were at a high level, whereas the problems, as a whole and each aspect were at a low level.

2. The conditions and problems of school budget management as perceived by participants with different positions, as a whole and each aspect were not different.

3. The conditions and problems of school budget management as perceived by participants with different work experience, as a whole were different at a statistical significance of .01 level.

4. The conditions and problems of school budget management as perceived by participants from different school sizes, as a whole were different at a statistical significance of .01 level.

5. The proposed guidelines for developing school budget management involved eight aspects:  
            5.1 Education resource management aspect should involve setting up resource lists for information, and clear defined systems or specified performance.
            5.2 Supplies control, maintenance and distribution aspect should involve keeping all financial records updated for asset accounting and inventory. 
            5.3 In terms of financial handling procedures, schools should provide accurate documents in accordance with related regulations. The financial operations should be accurately performed.
            5.4 In terms of collection, keeping and payment, responsible personnel for financial operation should perform duties in an honest manner.
            5.5 In terms of money deposits to financial division, responsible personnel should have knowledge and understanding about making deposits to the financial division and conducting all financial handling operations effectively.
            5.6 In terms of financial record keeping, school accounting records should be clear and auditable.
            5.7 In terms of financial and budget reports, schools should create the reports in accordance with the Government Sector Financial Regulation.
            5.8 In terms of keeping records and providing printed books of accounts and registration, and reports, schools should create accurate financial reports.
 

คำสำคัญ
สภาพ ปัญหา แนวทางพัฒนา, การบริหารงานงบประมาณ
Keywords
Development Guidelines, Budgeting Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,577.31 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 กรกฎาคม 2564 - 11:46:11
View 551 ครั้ง


^