ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart ที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายความสุขในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of Exercise Books Using Circuit Learning Affecting Physical Fitness, Happiness Learning, and Learning Achievement in Health and Physical Education Course for Prathomsuksa 5
ผู้จัดทำ
นิมิตร สุ่ยอุบล รหัส 59421231116 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ดร.พูนสิน ประคำมินทร์ , ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ร้อยละ 60 2) เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสุขในการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 5) เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ความสุขในการเรียน  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความเครียดแตกต่างกัน (สูง ปานกลาง  และต่ำ) เมื่อได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านกุดเรือคำ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน  ซึ่งมาจากเทคนิคการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 5 ชนิดได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะ จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของกรมพลศึกษาสำหรับนักเรียน (อายุ 7–12 ปี) เป็นแบบฝึกการ ปฏิบัติจำนวน ทั้งหมด 6 รายการ 3) แบบทดสอบวัดความสุขในการเรียน เป็นแบบสอบถามจำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบทดสอบวัดความเครียดของกรมสุขภาพจิต ปี 2553 สำหรับนักเรียน (อายุ 7–12 ปี) จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t-test Independent Samples) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ตัวแปรตามโดยความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (One-Way MANCOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (One-Way ANCOVA)

ผลการวิจัยสามารถสรุปผลได้ดังนี้

1. แบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart มีค่าดัชนีประสิทธิผล ที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุขในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.81, 0.72 และ 0.70 ค่าดัชนีประสิทธิผลรวมร้อยละ 0.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ร้อยละ 60 ขึ้นไป  

2. สมรรถภาพทางกายของนักเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3. ความสุขในการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนอยู่ในระดับมากขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

5. สมรรถภาพทางกาย ความสุขในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความเครียดทางการเรียน (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังได้รับการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ ที่พัฒนาขึ้น มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) develop the exercise books for Prathomsuksa 5 students based on Circuit learning integrated with Herbart's 5-step teaching theory to meet an effectiveness index criteria of 60 percent, 2) compare students’ physical fitness before and after learning through the developed exercise books, 3) compare students' happiness learning before and after the intervention, 4) compare students’ learning achievement before and after the intervention, and 5) compare physical fitness, happiness learning, and learning achievement of students with different academic stress levels (high, medium and low) after the intervention. The sample, obtained through cluster random sampling, consisted of 30 Prathomsuksa 5/2 students at Ban Kud Ruea Kham school under the Primary Educational Service Area Office 3 Sakon Nakhon in the first semester of academic year 2017. The five research tools consisted of: 1) five volumes of exercise books, 2) six sets of physical fitness tests of the Department of Physical Education for students (7–12 years of age), 3) a 30-item test to measure the happiness learning, 4) a 30-item test using a four-multiple choice type to measure learning achievement, and 5) a 5-item stress assessment test of the Department of Mental Health Year 2010 for students (7-12 years of age). Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Effectiveness Index (E.I.), t-test Independent Samples, One-Way ANOVA, One-Way MANCOVA, and One-Way ANCOVA.

The research results can be summarized as follows:

1. The exercise books based on Circuit learning integrated with Herbart's 5-step teaching theory affecting physical fitness, happiness learning, and learning achievement of Prathomsuksa 5 students had the effectiveness index of 0.81, 0.72 and 0.70, respectively with a total effectiveness index of 0.74, which was higher than the defined criteria of 60 percent.

2. Students’ physical fitness after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance.

3. Students’ happiness learning after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance.

4. Students’ learning achievement after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance.

5. Physical fitness, happiness learning, and learning achievement of students with different academic stress (high, medium and low) after the intervention differed at the .05 level of significance.
 

คำสำคัญ
แบบฝึกทักษะ การเรียนรู้แบบ Circuit ทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart
Keywords
Exercise Books, Circuit Learning, Herbart's 5-Step Teaching Theory
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,898.78 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 กรกฎาคม 2564 - 12:05:45
View 498 ครั้ง


^