ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Development of the Effective Internal Supervision Model for Schools under the Secondary Educational Service Area Office 22
ผู้จัดทำ
ปาจรีย์ หงษ์แก้ว รหัส 59421247106 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ดร.เอกลักษณ์ เพียสา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมและประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา ดำเนินการโดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและสังเคราะห์องค์ประกอบการนิเทศภายในจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และประเมินรูปแบบ ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมและประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน 355 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.43 ถึง 0.98 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนิเทศภายใน ขอบข่ายของการนิเทศภายใน กระบวนการนิเทศภายใน และประสิทธิผลการนิเทศภายใน

2. รูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีความเหมาะสมและมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ประสิทธิผลการนิเทศภายใน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนิเทศภายใน กระบวนการนิเทศภายใน และขอบข่ายของการนิเทศภายใน ตามลำดับ

Abstract

The objectives of this research were to develop and investigate the appropriateness and benefits of an effective internal supervision model of schools. The research procedures were divided into two phases: 1) the development of the effective internal supervision model of schools by studying of concepts, theories and synthesis of the effective internal supervision components from related documents and research, and 2) investigating the appropriateness and benefits of an effective internal supervision model of schools. The samples of this study comprised of 355 administrators and teachers of schools under the Secondary Educational Service Area Office 22 using multi stage sampling. The instruments used in data analysis was a 5-rating scale questionnaire with the validity index at 1.00, the discrimination power index was between 0.43 – 0.98, and the reliability index at 0.99. The collected data were analyzed for frequency, percentage, mean and standard deviation.

The research findings were: 

1. The effective internal supervision model of schools comprised of four components including factors affected factors of internal supervision, scopes of internal supervision, process of internal supervision and effectiveness of internal supervision.

2. The effectiveness of the internal supervision model in overall and individual aspects were appropriate and provided benefits at the highest level. Considering in the individual aspects ranked from the highest to the lowest levels, it was found that effectiveness of internal supervision, factors affected factors of internal supervision, process of internal supervision and scopes of internal supervision were ranked respectively.

คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบ, การนิเทศภายใน, ประสิทธิผล
Keywords
model development, internal supervision, effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,919.55 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 มีนาคม 2564 - 10:20:21
View 4707 ครั้ง


^