ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Human Resource Management and Performance Effectiveness among Personnel in the Department of Energy and Mine, Bolikhamxay Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้จัดทำ
สุวันไช พันทะวง รหัส 59426423121 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น, รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงาน ของบุคลากรแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการ และอาสาสมัครทุกคนในแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 94 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของบุคลากรแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีการบริหารทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาองค์การ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านสุขภาพและความปลอดภัย

2. ประสิทธิผลการทำงาน ของบุคลากรแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีประสิทธิผลการทำงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านคุณภาพการบริการ (Service Quality) รองลงมา คือ ด้านนวัตกรรม (Innovation) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความยืดหยุ่น (Flexibility)

3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงาน ของบุคลากรแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าความสัมพันธ์ (R) เท่ากับ .898 ซึ่งการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถทายระดับประสิทธิผลการทำงาน ของบุคลากรแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ร้อยละ 80.70

Abstract

The objectives of this study were: 1) to investigate a degree of human resource management and performance effectiveness among personnel in the Department of Energy and Mine, Bolikhamxay province, Lao People’s Democratic Republic (Lao PDR) and 2) to examine the human resource management that affects performance effectiveness among personnel in the Department of Energy and Mine, Bolihamxay province, Lao PDR. Population was 94 people comprising administrators, government officials and all volunteers in the Department of Energy and Mine, Bolikhamxay province, Lao PDR. The instrument used in data collection was a questionnaire, and the statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, and multiple regression analysis.

Findings of the study were as follows.

1. The human resource management among personnel in the Department of Energy and Mine, Bolikhamxay province, Lao PDR as a whole was at high level. When considering each aspect, it was found that all the aspects of the human resource management were at high level. The aspect that gained the highest mean score was of  ‘strategic human resource management’, followed by the aspect of ‘organizational management’. The aspect that gained the lowest mean score was of ‘health and safety’.

2. The performance effectiveness of personnel in the Department of Energy and Mine, Bolikhamxay province, Lao PDR as a whole was at high level. When considering each aspect, it was found that all of which were at high level. The aspect that gained the highest mean score was of ‘service quality’, followed by the aspect of ‘innovation’. The aspect that gained the lowest mean score was of ‘flexibility’.

3. The human resource management significantly affected performance effectiveness of personnel in the Department of Energy and Mine, Bolikhamxay province, Lao PDR at the .05 level by having the relationship coefficient (R) of .898. The human resource management could predict 80.70 % of the degree of effectiveness in performance among the personnel of the Department of Energy and Mine, Blikhamxay province, Lao PDR.

คำสำคัญ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ประสิทธิผลการทำงาน
Keywords
Human Resource Management, Performance Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,940.48 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 มีนาคม 2562 - 09:44:25
View 740 ครั้ง


^