ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงิน ในกองทัพบก สังกัดกองทัพภาคที่ 2
Servant Leadership Development Model for Finance Officers under the Second Army Area of the Royal Thai Army
ผู้จัดทำ
ทัศชัย ชัยมาโย รหัส 59520248102 ระดับ ป.เอก ภาคปกติ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. สายันต์ บุญใบ, ดร. ละม้าย กิตติพร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำใฝ่บริการ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ และ3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงินในกองทัพบก สังกัดกองทัพภาคที่ 2การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) ดำเนินการ 3 ระยะคือระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดและองค์ประกอบภาวะผู้นำการใฝ่บริการระยะที่ 2 การออกแบบและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาและระยะที่ 3 การนำไปทดลองใช้ภาคสนามและสรุปผลการทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นทหารเหล่าการเงินในกองทัพบก สังกัดกองทัพภาคที่ 2 ปี พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย นายทหารชั้นสัญญาบัตร จำนวน 105 นาย และนายทหารชั้นประทวน ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ จำนวน 105 นาย รวม จำนวน 210 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามภาวะผู้นำใฝ่บริการ แบบประเมินรูปแบบและชุดการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ แบบประเมินภาวะผู้นำใฝ่บริการ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงินในกองทัพบก สังกัดกองทัพภาคที่ 2 ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 6 ด้าน คือ ด้านการบริการตามบทบาทหน้าที่ ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาและเสริมพลังอำนาจแก่บุคลากร ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างชุมชน ด้านการมีวิสัยทัศน์และการสื่อสารที่ดี ด้านการรับฟังและการเห็นอกเห็นใจ และด้านความนอบน้อมและการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาและเสริมพลังอำนาจแก่บุคลากรด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างชุมชนและด้านการบริการ ตามบทบาทหน้าที่

2.รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงินในกองทัพบก สังกัดกองทัพภาคที่ 2ประกอบด้วย

2.1 หลักการ คือ 1) การพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงินในกองทัพบก สังกัดกองทัพภาคที่ 2 นำผลการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติงานในหน้าที่ 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการมีการใช้เทคนิควิธีการ หรือกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสะดวกในการนำไปปฏิบัติ และ3) รูปแบบการพัฒนามีความยืดหยุ่นในการไปใช้พัฒนาทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และทั้งองค์การ

2.2 จุดมุ่งหมาย คือ เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักพัฒนาทักษะ และเจตคติ เกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงินในกองทัพบก สังกัดกองทัพภาคที่ 2 ตลอดจนนำความรู้และทักษะด้านภาวะผู้นำใฝ่บริการไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.3 กระบวนการพัฒนา แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการปฐมนิเทศ การประเมินตนเอง การเรียนรู้จากกรณีศึกษาขั้นตอนฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยยึดการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning)ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติการ และขั้นตอนการกำกับติดตามและประเมินผล

2.4 ชุดการพัฒนาในแต่ละองค์ประกอบ มี 6 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการพัฒนา สื่อและแหล่งเรียนรู้ เอกสารอ้างอิง และกิจกรรมการพัฒนา

2.5 การติดตามและประเมินผล มีการติดตามผลโดยทิ้งช่วงหลังการพัฒนา 2 สัปดาห์

3.ผลของการประเมินประสิทธิผลโดยการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงินในกองทัพบก สังกัดกองทัพภาคที่ 2 พบว่า 1)รูปแบบการพัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำใฝ่บริการมีการเปลี่ยนแปลงหลังทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของผู้ที่มารับบริการที่มีต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำใฝ่บริการของกลุ่มทดลองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและ 4) ภาวะผู้นำใฝ่บริการระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ มีค่าสูงกว่าหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were to: 1) investigate components of servant leadership, 2) Construct and develop a model for developing servant leadership, 3) Assess the effectiveness of a developed model for servant leadership development for the finance officers under the Second Army Area. This Research and Development (R&D) was divided into three phases: Phase I Exploration of a conceptual framework and components of servant leadership; Phase II Model designing and refinement; Phase IIIModel implementation and summary of implementation results. The samples were finnace officers under the Second Army Area of the Royal Thai Army, including105 commissioned officers and 105non-commissioned officers, government permanent employees, and government employees, yielding a total of 210 officers. The instruments for data collection were expert interviews, servant leadership questionnaire, an evaluation of a model and a package of servant leadershipdevelopment,servant leadership assessment form, and customer satisfaction assessment form. Data were analyzed using percentage mean and standard deviation.

The findings were as follows:

1. The components of servant leadership of the Finance Officers under the Second Army Area of the Royal Thai Army involved six major aspects as follows: Role-based services, determination of development and personnel empowerment, participation and community building, having good vision and communication, listening and empathy, humility and good human relations. All aspects were as a whole at a moderate level which was ranging from high to low mean scores for the first three aspects: Determination for development and personnel empowerment, participation and community building, role-based services.

2. The model for servant leadership developmentof the finance officers under the Second Army Area of the Royal Thai Army comprised:

2.1 Principles were: 1)to bringing the development resultsinto practice, 2) the developed model employed various techniques or learning processes, and was convenient to implement into practice, 3) the developed model was flexibe for employment at the individual, group, and organizational levels.

2.2 Objectives were: 1) to develop knowledge and understanding, raising awareness for skill development and attitudes concerning servant leadership of the finance officers. In addition, the utilization of individual knowledge and skills on servant leadership into practices was effective.

2.3 Development procedures were divided into four steps: Orientation, self-assessment learning from case studies, and workshop by adhering to adult learning,practices in an actual setting, and monitoring and evaluation aspect.

2.4 The development package comprised six volumns. Each set of ther development packages consisted of objectives, contents, development methods, media and learning resources, reference materials, and development activities

2.5 Follow-up and evaluationsession was conducted after two weeks of the model implementation.

3. The results from investigating the effectiveness of the developed model revealed that: 1) The developed model as a whole was appropriateat a high level, 2) the servant leadership of finance officers has changed significantly after the model implementation with a statistical significance at the level of .01 in overall, 3) satisfaction of service userswas at a high level, and 4) After the two-week follow-up, the servant leadership of the finance officers was significantly higher than after the model implementation at the level of .01.

คำสำคัญ
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ
Keywords
Servant LeadershipDevelopment Model
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,630.76 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 มิถุนายน 2563 - 23:11:00
View 715 ครั้ง


^