สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ตามแนวคิดการเรียนรู้รับใช้สังคม และการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 2) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตร โดยการเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนตามหลักสูตร และเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติโครงการจิตสาธารณะกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องในชุมชนที่มีต่อหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ชั้นปีที่ 1–4 ชั้นปีละ 6 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 3 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) และนักศึกษาทั้งหมดมีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของหลักสูตร เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดจิตสาธารณะ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติโครงการจิตสาธารณะ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตร ฉบับของนักศึกษาและฉบับของผู้เกี่ยวข้องในชุมชน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มสัมพันธ์กัน และชนิดกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรที่สร้างขึ้นมี 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญของหลักสูตร 2) แนวคิดพื้นฐาน 3) หลักการของหลักสูตร ซึ่งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดการเรียนรู้รับใช้สังคม และการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 4) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งให้นักศึกษารู้และเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของชุมชน เรียนรู้ที่จะลงมือแก้ปัญหาชุมชน สามารถปฏิบัติโครงการจิตสาธารณะ และมีจิตสาธารณะที่ดีขึ้น 5) ผลการเรียนรู้ 6) โครงสร้างองค์ประกอบจิตสาธารณะ 7) โครงสร้างหลักสูตร 8) แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ(1) เตรียมความพร้อมสู่จิตสาธารณะและสำรวจชุมชน (2) เตรียมการจัดโครงการ (3) ปฏิบัติโครงการ (4) วิเคราะห์ผลโครงการ (5) สรุปและการอภิปรายผลโครงการ 9) สื่อการเรียนการสอน และ 10) การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งผลการประเมินหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.51, S.D. = 0.37)
2. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักศึกษามีจิตสาธารณะ หลังเรียนตามหลักสูตร สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสามารถในการปฏิบัติโครงการจิตสาธารณะสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องในชุมชน มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 และ 4.47 ตามลำดับ
The purposes of this research were: 1) to develop an enrichment curriculum to enhance public mind based on service learning and community-based learning for undergraduate students, 2) to examine the effects after the curriculum implementation by comparing students’ public mind before and after the intervention, and students’ abilities in conducting the assigned public mind projects, and 3) to explore the satisfaction of students and community stakeholders toward the developed enrichment curriculum. The sample consisted of undergraduate students from a four-year degree program of the Faculty of Education in
Sakon Nakhon Rajabhat University. Six students-three males and three females, 24 in total, were selected by stratified random sampling from each year of study, and agreed to participate in the intervention. Tools for data collection included an assessment of public mind, an evaluation of students’ abilities in conducting the public mind projects, a form of satisfaction toward the developed enrichment curriculum for students and community stakeholders. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test for Dependent Samples, and One-sample t-test.
The findings were as follows:
1. The developed enrichment curriculum consisted of ten components: 1) background and significance, 2) basic concepts, 3) principles based on service learning concepts and community-based learning, 4) objectives focusing on students’ knowledge and understanding of community problems and needs, learning to take action to solve community problems, abilities to conduct the assigned public mind projects, and improvement of public mind, 5) learning outcomes, 6) a component structure of public mind, 7) curriculum, 8) learning activity management approaches consisting of five steps, including (1) public mind preparation and community survey, (2) project preparation, (3) project implementation, (4) project result analysis, (5) project conclusion and discussion, (9) teaching and learning materials, and (10) learning measurement and evaluation. The enrichment curriculum validation was conducted by experts, and resulted in the highest level of appropriateness overall (x = 4.51, S.D. = 0.37).
2. The effects after the intervention revealed that the students gained public mind at a statistical significance of .01 level. In addition, the students’ abilities to conduct the assigned public mind projects were higher than the set criteria of 70 percent at a statistical significance of .01 level.
3. The mean scores of students and community stakeholders’ satisfaction toward the developed enrichment curriculum were at a high level with the mean score of 4.49 and 4.47, respectively.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 10,161.15 KB |