ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Development of Effective Communication Indicators of Administrators in Secondary Schools under the Office of the Basic Education Commission
ผู้จัดทำ
บัลลังก์ มะเจี่ยว รหัส 59632233101 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) จัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนิน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้การสื่อสาร ที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิการศึกษา และการศึกษารายกรณีโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2564  จำนวน 500 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60–1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.35-0.78 และค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และระยะที่ 3 การจัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา ตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประเมินความเหมาะสมของคู่มือ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ตัวบ่งชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักและ 19 องค์ประกอบย่อย จำแนกเป็น การเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นมี 4 องค์ประกอบย่อย ความชัดเจนในการสื่อสารมี 4 องค์ประกอบย่อย การทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับผู้รับสารมี 4 องค์ประกอบย่อย ความสมบูรณ์ของการสื่อสาร มี 4 องค์ประกอบย่อยและวัฒนธรรมขององค์กรที่ส่งเสริมการสื่อสารมี 3 องค์ประกอบย่อย

2. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square =  60.53, df = 96,  p-value = 0.99, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.00)  

3. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
 

Abstract

The purposes of this study were to: 1) develop the effective communication indicators of secondary school administrators, 2) examine the congruence of the developed structural model on effective communication indicators of secondary school administrators and empirical data, and 3) construct a user manual of the effective communication indicators of secondary school administrators under the Office of the Basic Education Commission. The study was divided into three phases. Phase 1 was the development of the effective communication indicators of secondary school administrators through intensive review of related documents and research articles, interview with experts and case study of the outstanding secondary schools Phase 2 was the examination of the congruence of the developed structural model on effective communication indicators of secondary school administrators The participants comprised 500 of secondary school administrators and teachers in academic year 2021, who selected using Multi-Stage Random Sampling. The research tool was a 5-level rating scale questionnaires with the IOC between 0.60-1.00, the discrimination power index between 0.35-0.78, and reliability index was at 0.95. The collected data were analyzed using statistical software program. Phase 3 was the construction of the manual of the effective communication indicators of secondary school administrators. The manual was validated by five experts using a 5-level rating scale questionnaires. The statistics used in data analysis were mean and standard deviation.

The research results were:

1. The effective communication indicators of secondary school administrators under the Office of the Basic Education Commission comprised five fundamental components and 19 sub-components, namely Open for others’ opinions including 4 sub-components, Clear communication in including 4 sub-components, Understanding and paying attention to the interlocutors including 4 sub-components, Completion of the communication including 4 sub-components, organizational culture promoting effective communication including 3 sub-components.

2. The developed structural model of effective communication indicators of secondary school administrators congruent with the empirical data with Chi-square = 60.53, df = 96, P-value = 0.99, GFI = 0.99, AGFI = 0.98 and RMSEA = 0.00.

3. The manual of the effective communication indicators of secondary school administrators obtained the appropriateness at the highest level.
 

คำสำคัญ
ตัวบ่งชี้ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา
Keywords
Indicators, Effective Communication, Secondary School Administrators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,018.84 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 มกราคม 2566 - 10:53:41
View 1123 ครั้ง


^