ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
An Academic Administration Competency Development Model of Administrators in Buddhist Scripture Schools under the General Education Division, in the Northeast
ผู้จัดทำ
ยุทธนา ตุ้มอ่อน รหัส 59632233105 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ดร. พรเทพ เสถียรนพเก้า , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ
การบริหาร งานวิชาการที่พัฒนาขึ้น และ 3) จัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบโดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 รูป/คน และการใช้เทคนิคเดลฟายจำนวน 3 รอบ กับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 รูป/คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ มัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ระยะที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ โดยสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 134 รูป เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 จัดทำคู่มือการใช้รูปแบบ ตรวจสอบคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 

            1.1 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาสมรรถนะบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของชุมชน 2) สภาพแวดล้อมของโรงเรียน 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 4) การประกันคุณภาพภายใน
            1.2 ขอบข่ายสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
โรงเรียนพระปริยัติธรรม มี 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริหารจัดการการเรียนรู้ 2) ด้านพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3) ด้านนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา และ 4) ด้านส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ 
            1.3 วิธีพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมมี 8 วิธี คือ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การฝึกปฏิบัติงานจริง 3) การศึกษาดูงาน 4) การศึกษาด้วยตนเอง 5) การศึกษากับผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ 6) การศึกษาต่อ 7) การหมุนเวียนงาน และ 8) การมอบหมายโครงการพิเศษ 1.4 ด้านผลลัพธ์ มี 4 องค์ประกอบย่อย คือ 1) การบริหารจัดการการเรียนรู้ 2) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3) การนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา และ 4) การส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้

2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop an academic administration competency model, 2) to validate the appropriateness of the developed academic administrative competency model, and 3) to develop a user manual of the academic administration competency model of administrators in the Buddhist scripture schools under the General Education Division in the northeast. The study was conducted as a mixed-method. The study was divided into three phases. Phase 1 was the model development through synthesizing related documents and research review, an interview with 7 experts. and using 3-rounds application of Delphi's techniques from 21 experts. Statistics used in data analysis were percentage, median, interquartile range. Phase 2 was the appropriateness validation of the model by exploring the opinions form 134 administrators in the Buddhist scripture schools. The research tools were a 5 - level rating scale questionnaires. Statistics used to analyze the collected data were frequency, mean and standard deviation. Phase 3 was the user manual development which was validated by 5 experts. The data was analyzed for the Index of Item-Objective Congruence. 

    The research results were:

1. The academic administration competency model of administrators in the Buddhist scripture schools under the General Education Division in the northeast comprised four components as follows.
            1.1 The factors contributing to the success of academic administration competency development of administrators in the Buddhist scripture schools consisted of 4 sub-components, namely Community participation, School environment, Leadership of administrators, Internal quality management.
            1.2 The scopes of academic administration competency of administrators in the Buddhist scripture schools consisted of 4 aspects, namely 
1) learning management, 2) school-based curriculum development, 3) learning management supervision in schools and 4) promoting of research conduction to improve the quality of learning management.
            1.3 The approaches of academic administration competency development of administrators in the Buddhist scripture schools included: 1) workshops, 2) authentic training, 3) field trips, 4) self-studying, 5) learning from experts, 6) obtain higher level of education, 7) job rotation and 8) special project assignments.
            1.4 The outcomes of the development comprised 4 sub-components, namely, 1) learning management, 2) school-based curriculum development, 
3) learning management supervision in schools and 4) promoting of research conduction to improve the quality of learning management.

2) The academic administration competency model of administrators in the Buddhist scripture schools under the General Education Division was overall appropriate at the highest level.

3) The user manual of the academic administration competency model of administrators in the Buddhist scripture schools under the General Education Division obtained the overall appropriateness at high level.
 

คำสำคัญ
รูปแบบ สมรรถนะการบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม
Keywords
Model, Academic Administration Competency, Administrators in the Buddhist Scripture Schools under the General Education Division
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,898.64 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 10:49:17
View 1017 ครั้ง


^