สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น จำนวน 2 แห่ง และระยะที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยม โดยสอบถามความคิดเห็นกับผู้บริหารสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 ค่าอำนาจจำแนก 0.24-0.60 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 1.1) การบริหารจัดการในทีม 1.2) ด้านงบประมาณ 1.3) คุณลักษณะของผู้นำทีม และ 1.4) ความไว้วางใจในการทำงาน 2) การทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 2.1) ด้านการติดต่อสื่อสาร 2.2) ด้านวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนเห็นพ้องต้องกัน 2.3) ด้านการยอมรับนับถือซึ่งกันและกันของทีม 2.4) และด้านการมีส่วนร่วมของทีม 3) ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 3.1) การวางแผน 3.2) การปฏิบัติตามแผน 3.3) การตรวจสอบ และ 3.4) การปรับปรุง แก้ไข และ 4) ประสิทธิผลของโรงเรียน ประกอบด้วย 4.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 4.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 4.4) การพัฒนาบุคลากร และ 4.5) ด้านความเชื่อมั่นของผู้ปกครองนักเรียน
2. รูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
This study aimed to 1) Develop teamwork model affecting secondary school effectiveness and 2) Examine the appropriateness and feasibility of a teamwork model affecting secondary school effectiveness in the Northeast. The research was divided into 2 phases, Phase 1: developing a teamwork model that affects the effectiveness of secondary schools by studying research papers, interviews with 3 experts, 2 case studies of outstanding secondary schools, Verifying the drafted model by 7 experts. Phase 2 exampling the suitability and feasibility of a teamwork model affecting secondary school effectiveness, by distributing questionnaires to the tools used for data collection were structured interviews and 5 rating scale estimation questionnaire, which had validity at 1.00, the discriminant power was 0.24-0.60, and the confidence was 0.87. Quantitative data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation and qualitative data were analyzed by content analysis.
The findings of this study were as follows:
1. The teamwork model that affected the effectiveness of secondary schools composed at 4 1) Factions affecting teamwork such as 1.1) team management,
1.2) working atmosphere, 1.3) team leader characteristics, and 1.4) resilience. 2) Factorsot teamwork consists of 2.1) team communication, 2.2) human relations, 2.3) goals, 2.4) performance, and 2.5) mutual respect. 3) The process of working as a team consists of 3.1) planning 3.2) implementation of the plan 3.3) inspection and 3.4) improvement and 4) School effectiveness consisting of 4.1) learning achievement 4.2) job satisfaction 4.3) Desirable characteristics of learners, 4.4) learning organization, 4.5) personnel development, and 6) adaptation to the environment.
2. The results of examining the suitability and feasibility of the teamwork model that affected the effectiveness of secondary schools in the northeastern region in an overall were at the highest in all aspects.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,444.89 KB |