ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานสารบรรณโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Administrative Factors Affecting School Documentary Administration under the Secondary Educational Service Area Office 23
ผู้จัดทำ
เจนจิรา ลูกอินทร์ รหัส 60421229125 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์ , ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และอำนาจพยากรณ์ ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลงานสารบรรณโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานสารบรรณโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบงานสารบรรณ และครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 328 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ได้เป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  43 คน ผู้รับผิดชอบงานสารบรรณ จำนวน 46 คน และครู จำนวน 239 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า 

1. ปัจจัยทางการบริหารงานสารบรรณโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบงานสารบรรณ และครู อยู่ในระดับมาก

2. ปัจจัยการบริหารงานสารบรรณโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบงานสารบรรณ และครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. ประสิทธิผลงานสารบรรณโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาผู้รับผิดชอบงานสารบรรณ และครู อยู่ในระดับมาก 

4. ประสิทธิผลงานสารบรรณโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบงาน 
สารบรรณ และครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกัน    

5. ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลงานสารบรรณโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยการบริหารงานสารบรรณโรงเรียน ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านบุคลากร และด้านการบริหารจัดการ มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลงานสารบรรณโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

7. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารงานสารบรรณโรงเรียน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลากรโดยการสร้างเจตคติและความรู้ความเข้าใจที่ดีต่องานสารบรรณจะส่งผลต่อความรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่ 2) ด้านงบประมาณโดยการจัดการด้านการเงินที่หมุนเวียนให้ครบถ้วนส่งผลให้งานสารบรรณดำเนินงานได้ลุล่วง 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์โดยหากมีการสนับสนุนอุปกรณ์การทำงาน การขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุม ส่งผลให้ระบบงานสารบรรณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ 4) ด้านการบริหารจัดการโดยส่งเสริมการดำเนินงานให้เป็นระบบจะส่งผลให้การปฏิบัติงานสารบรรณ เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship and discrimination power between administrative factors and effectiveness of documentary administration in schools under the Secondary Educational Service Area Office 23 (SESAO), and to establish guidelines for developing administrative factors affecting effectiveness of school documentary administrations. The sample, obtained through multi-stage sampling, consisted of 43 school administrators, 46 persons-in charge of documentary administration, and 239 teachers, yielding a total of 328 participants in the academic year of 2018. The tools for data collection included a set of five-point rating scale questionnaires. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. Factors of documentary administration in schools under the SESAO 23, as perceived by participants were at a high level.

2. Factors of documentary administration in schools under the SESAO 23, as perceived by participants classified by positions, school sizes, and work experience as a whole showed no difference.

3. Effectiveness of documentary administration in schools under the SESAO 23 as perceived by participants was at a high level.

4. Effectiveness of documentary administration in schools under the SESAO 23 as perceived by participants classified by positions as a whole was at a statistical significance of .05 level, whereas participants’ opinions with different school sizes and work experience as a whole showed no difference. 

5. The administrative factors and effectiveness of school documentary administration under the SESAO 23 showed a positive relationship at a rather high level with statistical significance of .01 level. 

6. The factors of school documentary administration in terms of equipment and materials, administration management were able to predict the effectiveness of school documentary administration under the SESAO 23.

7. This research proposed the four aspects of guidelines for developing administrative factors of school documentary management:  1) Personnel aspect. Schools should increase the focus on creating good attitudes and understanding toward documentary management to improve work performance responsibilities and duties, and cooperative working performance; 2) Budgeting aspect: Schools should provide efficient budget allocation to be effectively enforced the documentary administration performance; 3) Equipment and Materials: Schools should provide work equipment and materials and extend the Internet network’s range and speed to increase the efficient documentary administration system; and 4) In terms of administrative management aspect, schools should support existing performance into more effective documentary administration system with convenient, fast, accurate, and efficient access.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร งานสารบรรณ
Keywords
Administrative Factors, Documentary Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,902.33 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 กันยายน 2564 - 13:31:04
View 486 ครั้ง


^