สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ และเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียน และหาแนวทางการยกระดับประสิทธิผลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 323 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 58 คน และครูผู้สอน จำนวน 265 คน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบง่ายโดยการจับสลากแบบใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และแนวทางการยกระดับการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples และการทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิผลของโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามสถานที่ตั้งของโรงเรียนที่แบ่งเป็นภูมิภาค โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. แนวทางการยกระดับประสิทธิผลของโรงเรียน เสนอแนะไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีเจตคติทางบวก ควรจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่เหมาะสมและต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ควรมีการกำหนดนโยบาย โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และมีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป และควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝนตนเองในการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี และมีโอกาสแสดงความสามารถที่ตนเองภาคภูมิใจ และด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียนผู้บริหารและครูทุกคนต้องร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนอย่างเป็นกัลยาณมิตร ผู้บริหารควรมีภาวะผู้นำ มีความยุติธรรม รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน และผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคลากร มีทักษะในการสื่อสาร การรับรู้ปัญหาร่วมกัน และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The purposes of this research were: to examine the level and to compare the School Effectiveness; and to establish the guidelines for developing the School Effectiveness of Princess Chulabhorn Science High Schools Under the Office of the Basic Education Commission. The samples consisted of a total of 323 participants including 58 school administrators and 265 teachers in Princess Chulabhorn Science High Schools in the 2021 academic year. The sampling method uses Randomly taking the risk of a return lottery. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning the School Effectiveness with the reliability of 0.97. The statistics used foe data analysis were mean, standard deviation, t-test (Independent Samples), F – test (One – Way ANOVA).
The findings were as follows:
1. The School Effectiveness as, as a whole and each aspect were at a high level.
2. The School Effectiveness with different position, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level.
3. The School Effectiveness with different work experience, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level.
4. The School Effectiveness with different Location of schools divided into regions, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level.
5. The guidelines for developing the School Effectiveness involved two aspects: the ability to develop students to have a positive attitude; appropriate and ongoing activities or experiences should be organized to encourage learners to demonstrate desirable behaviors, there should be a policy Project to improve the quality of life of students to develop their potential and has been supervised, monitored and evaluated for further development and it should give students the opportunity to train themselves to be leaders, good followers, and to showcase their talents that they are proud of and the ability to solve problems within the school; all administrators and teachers must plan together. Discussions about solving problems that arise in schools in a friendly way, Executives should have leadership qualities. be fair listen to the opinions of all parties to be used to solve problems within the school and Management should create a good understanding between personnel. have communication skills common problem perception and solve problems effectively.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,419.87 KB |