ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ
Development of Learning Achievement and Positive Attitude toward Mathematics Subject Entitled Addition and Subtraction for Prathomsuksa 1 Students Using Action Research
ผู้จัดทำ
เฟื่องลัดดา ก้อนกั้น รหัส 60421249116 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ธนานันต์ กุลไพบุตร , รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนการพัฒนา 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระหว่างการพัฒนาแต่ละวงรอบของการวิจัยปฏิบัติการ 3) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการพัฒนา กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนา และ 4) ศึกษาและเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านปากยาม (สุนทรกัลยาคาร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน 4) แบบบันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 6) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

ผลการวิจัยพบว่า

1. ก่อนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.67 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน นักเรียนทุกคนได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับปานกลาง 

2. ระหว่างการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนจากการทำแบบฝึกทักษะ วงรอบที่ 1 การบวกและการลบจำนวนสามจำนวนในแนวนอนและแนวตั้ง และวงรอบที่ 2 การบวกลบระคนเลขหนึ่งหลักในแนวนอนและแนวตั้ง นักเรียนทุกคนได้คะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม ส่วนวงรอบที่ 3 การบวกลบระคนเลขสองหลักกับหนึ่งหลักในแนวนอนและแนวตั้ง มีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 5 คน และวงรอบที่ 4 การบวกลบระคนเลขสองหลักในแนวนอนและแนวตั้ง มีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 คน สำหรับนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้วิจัยได้สอนซ่อมเสริม ให้ทำแบบฝึกทักษะเพิ่มเติมเป็นการบ้าน ใช้การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน จนนักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม

3. หลังการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.67 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน สูงกว่าก่อนการพัฒนาและผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม

4. หลังการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากขึ้นไป
 

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine students’ learning achievement in mathematics subject entitled Addition and Subtraction for Prathomsuksa 1 students before the development process, 2) to examine students’ learning achievement during the development of each action research cycle, 3) to examine and compare students’ learning achievement after the development process with the 70 percent criterion and before the development process, and 4) to examine and compare students’ attitude toward mathematics subject before and after the development process. The target group consisted of nine Prathomsuksa 1 students studying in the first semester of the 2018 academic year at Ban Pakyam (Soonthornkanlayakarn) school. The research instruments included 1) the mathematics exercises, 2) lesson plans, 3) a students’ observation form, 4) a self-reflection form after the completion of the learning activities management, 5) a learning achievement test, and 6) a form for measuring the student attitude toward the mathematics subject.

The research was as follows: 

1. Before the development process, the overall mean of the mathematics learning achievement was 8.67 out of full 20 points, indicating that all students’ scores were lower than the defined criterion of 70 percent. The student attitude toward the mathematics subject was at a moderate level.

2. During the development process, every student performed well on the exercises of vertical and horizontal addition and subtraction of three-digit numbers and achieved the 70 percent criterion in the first cycle. In the second cycle, all students completed the exercises on vertical and horizontal addition and subtraction of a one-digit number with the 70 percent criterion. In the third cycle, only five students failed to solve the exercises on vertical and horizontal addition and subtraction of two-and one-digit numbers whereas, in the fourth criteria, only two students did not pass the defined criterion on the exercise of addition and subtraction with a two-digit number. For students who did not pass the assessment criteria, the researcher offered remedial classes by assigning more exercises for homework and using a peer-assisted learning approach until the students could pass the 70 percent criterion. 

3. After the development process, the overall mean of the mathematics learning achievement was 17.67 out of full 20 points, which passed the defined criterion of 70 percent and was higher than that before the development process. 

4. After the development process, the overall student attitude toward the mathematics subject was higher than that before the development process at a high level.
 

คำสำคัญ
วิจัยปฏิบัติการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติทางการเรียน
Keywords
Action Research, Learning Achievement, Learning Attitude
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 12,318.74 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
7 กุมภาพันธ์ 2566 - 11:22:30
View 1042 ครั้ง


^