สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ตรวจสอบประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) ตรวจสอบประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามเกณฑ์ประสิทธิผลตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป 3) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนอนุบาลเซกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.19/85.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิผลร้อยละ 74.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50
3. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมการเรียนรู้จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยรวมมีพัฒนาการอยู่ในระดับดี (= 2.63, S.D. = 0.48)
The purposes of this research were: 1) to examine the efficiency of the learning experience management based on STEM Education for improving the basic science skills of early childhood as with the criteria of 80/80, 2) to examine the effectiveness index of the developed learning experience management with the criteria of 50 percent or more, 3) to compare the basic science skills of early childhood before and after the intervention, and 4) to explore learning behaviors of early childhood after the intervention. The sample consisted of 20 kindergarten students in class 3/2 of Anubanseka School under the Bueng Kan Primary Educational Service Area Office, in the second semester of the academic year 2019, obtained through cluster random sampling. The research instruments were: 1) learning experience management plans, 2) an evaluation form of early childhood’s basic science skills, 3) an observation form of early childhood’s learning behaviors. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Dependent Samples t-test.
The findings were as follows:
1. The efficiency of the developed learning experience management was 86.19/85.50, which was higher than the established criteria of 80/80.
2. The effectiveness index of the developed learning experience management was 74.67 percent, which was met the defined criteria of 50 percent.
3. The mean scores of early childhood’s basic scientific skills after the intervention were higher than those of before the intervention at the .01 level of statistical significance.
4. Early childhood learning behaviors as a whole were at a good level of development ( = 2.63, S.D. = 0.48).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,317.02 KB |