สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัด ในเขตพื้นที่ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในเขตพื้นที่ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) หาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัด ในเขตพื้นที่ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 390 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัด ในเขตพื้นที่ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ( = 4.83) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านศาสนกิจ รองลงมาคือ ด้านศาสนบุคคล ด้านศาสนสถาน และด้านศาสนวัตถุ ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัด ในเขตพื้นที่ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในภาพรวม ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และหมู่บ้านที่อาศัย พบว่า มีความแตกต่างกันมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่เพศหญิงมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัดสูงกว่าเพศชาย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านศาสนวัตถุ มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในเขตพื้นที่ ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า ควรส่งเสริมให้จัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา ควรให้มีคณะกรรมการรักษาทรัพย์สินต่าง ๆ วัตถุต่าง ๆ ควรให้มีการบูรณะซ่อมแซมในพื้นที่เสียหายตามกาลเวลาและสร้างขึ้นใหม่ ควรส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณร เรียนนักธรรม บาลี พร้อมทั้งการศึกษาทางโลกและธรรมให้มากขึ้น และพระสงฆ์ในวัดควรกระตือรือร้น ในการปฏิบัติศาสนกิจและปฏิบัติธรรมให้มากยิ่งขึ้น
The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of people’s participation in developing the Buddhist temples of Phang Khwang Subdistrict, Mueang District, Sakon Nakhon Province, 2) to compare the participation in developing the temples by the people whose personal attributes differed, 3) to gain guidelines on promoting people’s participation in developing the Buddhist temples of Phang Khwang Subdistrict, Mueang District, Sakon Nakhon Province. The subjects were 390 people who lived in Phang Khwang Subdistrict, Mueang District, Sakon Nakhon Province. The instrument was the questionnaire and statistics used for collecting the data consisted of frequency, mean, standard deviation, t-test, and One – way ANOVA.
The result of research is;
1. People’s participation in developing the Buddhist temples of Phang Khwang Subdistrict, Mueang District, Sakon Nakhon Province, as a whole, was at the high level in every aspect ( = 4.83). When considering each aspect, it was found that the religious activities had the highest participation from the people. At the same time, the people had participated in or involved with these aspects in the second, third and, fourth highest levels, respectively: clergy/priests, religious places, and religious objects.
2. When comparing the people’s participation based on their differences in terms of ages, genders, educational background, careers, monthly incomes, and villages resided by them, it was found that their participations significantly differed at .05 statistical levels. Women participated more than men. Additionally, with regard to the religious objects, their participation differed significantly at .05 statistical level.
3. In order to promote people’s participation in developing the Buddhist temples of Phang Khwang Subdistrict, Mueang District, Sakon Nakhon Province, several guidelines were given. Religious activities should be launched on important religious days/holidays. Boards should be appointed to be in charge of maintaining and conserving religious assets and objects. Any religious places which have been damaged through time should be rebuilt or renovated. Buddhist novices and monks should be encouraged and supported to study Dhamma, Pali and Sansakrit languages, secular and religious education more. The Buddhist monks should be eager to do or take part in religious activities and practice religion.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 373.78 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 361.14 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 50.01 KB |
4 | บทคัดย่อ | 222.12 KB |
5 | สารบัญ | 129.08 KB |
6 | บทที่ 1 | 351.67 KB |
7 | บทที่ 2 | 722.60 KB |
8 | บทที่ 3 | 439.44 KB |
9 | บทที่ 4 | 976.16 KB |
10 | บทที่ 5 | 480.23 KB |
11 | บรรณานุกรม | 425.31 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 8,621.31 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 235.97 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 431.72 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 277.87 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 371.32 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 553.22 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 246.16 KB |