ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Development of Happiness at Work Indicators of Elementary School Teachers under the Primary Educational Service Area Offices in the Northeast Region
ผู้จัดทำ
ก่อกนิษฐ์ คำมะลา รหัส 60632233202 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง , รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) จัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดและพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และการใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 702 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 3 การจัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า 

1. องค์ประกอบความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 21 องค์ประกอบย่อย 81 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น ด้านความพึงพอใจในการทำงาน จำนวน 21 ตัวบ่งชี้ ด้านความสำเร็จในการทำงาน จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ ด้านวัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมการทำงาน จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ ด้านลักษณะงานที่ทำ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ และด้านมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน จำนวน 14 ตัวบ่งชี้

2. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 64.75 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 79 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value) เท่ากับ 0.88 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.97 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.00) 

3. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ¯X=4.49, S.D. = 0.29)
 

Abstract

The objectives of this study were to 1) develop happiness at work indicators of primary school teachers, 2) examine the congruence of the developed structural model on happiness at work indicators of primary school teachers with empirical data and 3) develop a user manual on the developed indicators. The study was divided into 3 phases. Conceptual framework construction and indicators development were carried out in Phase 1 by the study of relevant research papers, the interview with 7 senior experts and the application of modified Delphi’s technique for 3 times by 21 experts. Phase 2 was the examination of the author’s research hypothesis with empirical data by seeking the inputs from 702 school directors and teachers obtained by multi-stage randomization under the OBEC in the North-eastern region of Thailand. The user manual on the developed indicators was created and examined by 5 experts in Phase 3. The tool used was a 5-level rating scale questionnaire. Confirmatory factor analysis was conducted by statistics software, while the appropriateness of developed user manual was evaluated by mean and standard deviation.

The results were as follows:

1. Happiness at work of primary school teachers comprises 6 main components, 21 sub-components and 81 indicators, which are (1) 21 indicators on satisfaction at work; (2) 11 indicators on work achievement; (3) 11 indicators on quality of life at work; (4) 12 indicators on supportive organizational culture that encourages work efficiency (5) 12 indicators on work characteristics and (6) 14 indicators on human relation in organization. 

2. The developed structural model on happiness at work indicators of primary school teachers under the OBEC in the North-eastern region of Thailand shows congruence with empirical data. (Chi-square = 64.75, df = 79, p-value = 0.88, GFI = 0.99, AGFI = 0.97 and RMSEA = 0.000) 

3. The overall appropriateness of the developed user manual on the developed indicators is at a high level (¯X=4.49, S.D. = 0.29).
 

คำสำคัญ
ความสุขในการทำงาน ตัวบ่งชี้ ครูประถมศึกษา
Keywords
Happiness at Work Indicators Primary School Teacher
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,968.61 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 กันยายน 2564 - 14:36:05
View 1150 ครั้ง


^