สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ในระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารโครงการฯ ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ 3) หาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลของการบริหารโครงการฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การสร้างโมเดลสมมติฐาน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงเส้น โดยใช้สถิติ ไค-สแควร์ (Chi-square) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติขั้นสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ ปีการศึกษา 2561 ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โรงเรียนละ 6 คน จะได้กลุ่มตัวอย่าง 468 คน จากโรงเรียน 78 แห่ง ระยะที่ 3 การหาแนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ในการยืนยันโมเดลปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อทางตรงประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยตัวแปรสาเหตุ ได้แก่ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร บรรยากาศโรงเรียน สมรรถนะครู และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียผลประโยชน์
2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ ( χ^2) เท่ากับ 70.72 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 46 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (χ^2 /df) เท่ากับ 1.53 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.011 ค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของรากกำลังสองเฉลี่ย (RMSEA) เท่ากับ 0.034 ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.95 ค่าขนาดตัวอย่างวิกฤต (CN) เท่ากับ 448.33 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีของรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR) เท่ากับ 0.0076 และสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.82 และเมื่อนำโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ยืนยัน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทุกคนยืนยันโมเดลตามผลการวิเคราะห์
3. แนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ โดยปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลทางตรง 4 ตัว คือ 3.1 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ผู้บริหารควรนำรูปแบบทางดิจิทัลมาสนับสนุนหลักสูตรและการเรียนการสอน 3.2 บรรยากาศโรงเรียน บรรยากาศโรงเรียนควรมีการยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามแนวโน้มการศึกษาในศตวรรษที่ 21 3.3 สมรรถนะครู ครูควรมีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและ 3.4 การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียผลประโยชน์ โครงการฯ ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียผลประโยชน์
The purposes of this research were 1) to identify the factors affecting the administrative effectiveness of the instructional projects based on the Ministry of Education (MOE) Curriculum (English Program) in secondary schools under the Office of the Basic Education Commission (OBEC), 2) to examine whether the causal relationship model of factors affecting the administrative effectiveness of the instructional projects was consistent with empirical data, and 3) to establish guidelines for developing the factors that directly affected the administrative effectiveness of the instructional projects. The research process was divided into three phases: Phase 1 was related to constructing a hypothesis model, Phase 2 focused on the validation of the selected factors’ consistency with empirical data using the structural equation model (SEM), and linear model analysis using chi-square statistics. Analysis of quantitative data was conducted using SPSS and LISREL programs. The research sample consisted of 468 personnel who working for the instructional projects in the 2018 academic year, drawn from six personnel from 78 secondary schools. by stratified random sampling technique. Phase 3 was related to establishing the guidelines for developing the selected factors that directly affected the effectiveness of the instructional project. The interviews with nine experts were conducted to confirm the model for selected factors that directly affected the administrative effectiveness and evaluated the suitability of the developed guidelines.
The findings were as follows:
1. The causal relationship model of selected factors affecting the administrative effectiveness of the instructional projects in secondary schools consisted of the cause variables including instructional leadership of administrators, school atmosphere, teacher competency, and stakeholders’ participation.
2. The causal relationship model of factors affecting the administrative effectiveness of the instructional projects in secondary schools under the OBEC was consistent with the empirical data as demonstrated by the following fit measures: Chi-square (χ^2) goodness of fit test = 70.72, Degree of Freedom (df) = 46, Chi-Square/Degree of Freedom (χ^2 /df) = 1.53, Probability Value (p-value) = 0.011, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.034, Goodness of Fit Index (GFI) = 0.98, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.95, Critical N (CN) = 448.33, Comparative Fit Index (CFI) = 1.00, Root Mean Square Residual (RMR) = 0.0076, and Alpha Coefficient (R2) = 0.82. The developed model was subsequently confirmed in complete agreement from nine experts with the results obtained from the model analysis.
3. The proposed guidelines for developing the selected factors that directly affected the administrative effectiveness of the instructional projects revealed that four selected factors directly affected the administrative effectiveness of the instructional projects included: 3.1 Administrators’ Instructional Leadership. Administrators should adopt digital technology to support curriculum and instruction; 3.2 School Climate. School climate should incorporate flexible response to the changes in education trends in the 21st century; 3.3 Teacher Competency. Teachers should attend the workshops and training courses continuously; and 3.4 Stakeholders’ Participation. Schools should examine factors associated with stakeholders’ participation.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 10,796.50 KB |