ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
กลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ สปป.ลาว
Strategies for Administrative Management of the Dual Vocational Education and Training System for Public Vocational Schools in the Lao People’s Democratic Republic
ผู้จัดทำ
สีไพวัน พมมะสอน รหัส 60632250105 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพไหล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันกับสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ สปป.ลาว และ 2) สร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ สปป.ลาว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ สปป.ลาว โดยการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา จำนวน 324 คน ครูฝึกและผู้บริหารสถานประกอบการ 315 คน รวมทั้งหมด 639 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน จากการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาพบว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้องรายข้ออยู่ระหว่าง .67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การยกร่างกลยุทธ์ ประกอบด้วย การศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการทำกลยุทธ์ ระยะที่ 3 ยืนยันและสรุปผลประเมินร่างกลยุทธ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน และจัดประชาพิจารณ์ร่างกลยุทธ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 51 ท่าน เพื่อประเมินร่างกลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ สปป.ลาว และเพื่อยืนยันความเหมาะสม และความเป็นไปได้

ผลการวิจัยพบว่า 

1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ สปป.ลาว พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x = 3.26) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 4.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย โดยใช้เทคนิคประเมินความต้องการจำเป็น PNImodified ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการเรียนการสอน 2) ด้านการบริหารความร่วมมือระหว่างสถานอาชีวศึกษาและสถานประกอบการ 3) ด้านการบริหารการวัดและประเมินผล 4) ด้านการบริหารบุคลากร และ 5) ด้านการบริหารหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน

2. กลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ สปป.ลาว มีองค์ประกอบกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1) การกำหนดปรัชญาวิสัยทัศน์ และพันธกิจองค์กร 2) การกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ 3) การวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการขององค์กร 4) การกำหนดทางเลือก 5) การกำหนดกลยุทธ์ 6) การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยกลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ สปป.ลาว ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก 38 กลยุทธ์รอง 190 วิธีดำเนินการ แยกรายละเอียดตามกลยุทธ์หลัก ดังนี้ 1) กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์รอง 25 วิธีดำเนินการ 2) กลยุทธ์บริหารด้านความร่วมมือระหว่างสถานอาชีวศึกษาและสถานประกอบการ ประกอบด้วย 10 กลยุทธ์รอง 50 วิธีดำเนินการ 3) กลยุทธ์บริหารด้านการบริหารการวัดและประเมินผล ประกอบด้วย 9 กลยุทธ์รอง 45 วิธีดำเนินการ 4) กลยุทธ์บริหารด้านการบริหารบุคลากร ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์รอง 25 วิธีดำเนินการ และ 5) กลยุทธ์บริหารด้านหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย 9 กลยุทธ์รอง 45 วิธีดำเนินการ และการประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ สปป.ลาว โดยผู้เชี่ยวชาญและการจัดประชาพิจารณ์ ในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมและด้านความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
 

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine the current and desired conditions of administrative management of the dual vocational education and training (DVET) system for public vocational schools in the Lao People’s Democratic Republic (Lao PDR), and 2) to establish the strategies for administrative management of the DVET system for public vocational schools in Lao PDR. This policy research was performed in three phases: Phase I involved a survey seeking basic information on the administrative management of the DVET system for public vocational schools in Lao PDR. The sample group involved 693 participants, including 324 teachers and administrators from vocational schools, and 315 peer teacher trainers and enterprise executives. The research instrument was a set of questionnaires validated by nine experts, with content validity that the Index of Item Objective Congruence ranged from .67 to 1.00. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. Phase II entailed drafting the strategies of administrative management through document inquiries on the pertinent strategic formulation. Phase III was related to confirming and summarising the drafted strategies through nine experts' reviews. A public hearing with 51 experts was also conducted to assess and confirm the appropriateness and feasibility of the developed strategies. 

The findings were as follows: 

 1. The current and desired conditions of administrative management of the DVET system for public vocational schools in the Lao PDR revealed that the current conditions were overall at a moderate level ( x = 3.26), whereas the desired conditions were overall at a high level ( x = 4.18). When considering each aspect, all aspects were ranked at a high level and sorted in descending order of mean score using a modified priority need index (PNImodified) technique as follows: 1) Instructional administration, 2) Collaborative administration between vocational schools and enterprises, 3) Measurement and evaluation administration, and 4) Personnel administration, and 5) Curriculum and instructional media administration.

2. The strategies of administrative management of the DVET system for public vocational schools in Lao PDR consisted of 1) Determining organizational philosophy, visions, and missions; 2) Creating policy, goals, and objectives; 3) Analysing problems and needs of organizations; 4) Developing alternatives; 5) Creating strategies, and 6) Implementing strategies. The strategies of administrative management of the DVET system for public vocational schools in Lao PDR covered five main strategies, 38 sub-strategies with 190 approaches. The main strategic administration could be described as 1) Administrative strategy for instructional administration comprising five sub-strategies with 25 approaches, 2) Administrative strategy for collaboration between vocational institutions and enterprises comprising ten sub-strategies with 50 approaches, 3) Administrative strategy for measurement and evaluation administration comprising nine sub-strategies with 45 approaches, 4) Administrative strategy for personnel administration comprising five sub-strategies with 25 approaches, 5) Administrative strategy for curriculum and instructional media comprising nine sub-strategies with 45 approaches. Following the expert assessment and the public hearing in each aspect, the proposed strategies in terms of appropriateness and feasibility were overall at the highest level in all aspects.
 

คำสำคัญ
กลยุทธ์ ระบบทวิภาคี อาชีวศึกษา
Keywords
Strategy, Dual System, Vocational Education
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,663.04 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 กุมภาพันธ์ 2566 - 13:39:57
View 389 ครั้ง


^