ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาวิทยาลัยเทคโนโลยีสว่างแดนดินตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
The Development of Sawangdaendin Technological College Based on Vocational Education Standards Using a Process for Building Professional Learning Community
ผู้จัดทำ
วราภรณ์ บุญศล รหัส 60632250111 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์ , รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา 2) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 3) ศึกษาแนวทางพัฒนา และ 4) ศึกษาผลการพัฒนาวิทยาลัยเทคโนโลยีสว่างแดนดินตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย 1 คน ผู้ร่วมวิจัย 38 คน ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน 2 วงรอบ ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์
    ผลการวิจัยพบว่า                                           
        1. องค์ประกอบของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 1) มาตรฐานการอาชีวศึกษา ได้แก่ 1.1) คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ 1.2) การจัดการอาชีวศึกษา และ 1.3) การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และ 2) องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่ 2.1) การเรียนรู้ร่วมกันและปฏิบัติงานเป็นทีม 2.2) ภาวะผู้นำที่มีส่วนร่วม 2.3) การมีวิสัยทัศน์ค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน 2.4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน 2.5) การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และ 2.6) โครงสร้างสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ 
        2. สภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนา มีดังนี้    

            2.1 สภาพการพัฒนา วิทยาลัยยังไม่มีแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน และสถานศึกษามีผลการประเมินจาก สมศ. อยู่ในระดับต้องปรับปรุง นอกจากนี้ครูบางส่วนขาดความรู้ในการพัฒนางานจัดการเรียนการสอนแบบเดิม มีทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีไม่เพียงพอ และไม่ยอมรับในการเปลี่ยนแปลง 
            2.2 ปัญหาการพัฒนา ครูมีความเข้าใจในการพัฒนางานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาไม่เพียงพอ การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ต่อตนเองและผู้เรียนมีน้อย 
            2.3 ความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนางานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 1) มาตรฐานการอาชีวศึกษา ได้แก่ 1.1) การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 1.2) คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ และ 1.3) การจัดการอาชีวศึกษา และ 2) องค์ประกอบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่ 2.1) การเรียนรู้ร่วมกันและปฏิบัติงานเป็นทีม 2.2) การมีวิสัยทัศน์ค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน 2.3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน 2.4) โครงสร้างสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2.5) การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และ 2.6) ภาวะผู้นำที่มีส่วนร่วม 
        3. แนวทางการพัฒนาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นการดำเนินงาน 9 โครงการ 22 กิจกรรม
        4. ผลการพัฒนาวิทยาลัยตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า
            4.1 ดำเนินการได้ในระดับมากทุกมาตรฐานและองค์ประกอบ ผลการพัฒนาเป็นที่พอใจ สิ้นสุดการพัฒนาในวงรอบที่ 1 มีเพียงมาตรฐานที่ 1 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 1 การเรียนรู้และการปฏิบัติงานเป็นทีมที่ต้องออกแบบการพัฒนาเพิ่มขึ้นในวงรอบที่ 2 ซึ่งผลการพัฒนา มีความก้าวหน้าจากวงรอบที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 92.40 และ 93.60 
            4.2 ผลการพัฒนาในภาพรวม ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตระหนักและให้ความสำคัญในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เกิดการพัฒนาตามมาตรฐาน ส่งผลให้เกิดคุณภาพ ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่กระตุ้นและพัฒนาผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลาย นักเรียนได้รับการพัฒนา มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในงานของวิทยาลัยมากขึ้น ผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการ มีความพึงพอใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของวิทยาลัยเป็นอย่างมาก
 

Abstract

 The purposes of this research were to: 1) examine the components of building a professional learning community based on vocational education standards, 
2) investigate conditions, problems, and needs, 3) establish the development guidelines, and 4) examine the effects after the development of Sawangdaendin Technological College based on vocational education standards using a process for building a professional learning community. The co-researchers consisted of a researcher and 38 co-researchers. A four step, two-spiral participatory action research was conducted, comprising planning, action, observation, and reflection. Research tools consisted of a set of questionnaires, evaluation forms, observation forms and interview forms.   
    The findings were as follows:   
        1. The components for building professional learning community (PLC) based on vocational education standards consisted of two parts: 1) vocational education standards included: 1.1) graduates’ desired characteristics, 1.2) vocational education management, 1.3) building a learning society, and 2) The components of PLC involved: 2.1) learning together and teamwork, 2.2) participative leadership, 2.3) shared vision, values, and norms, 2.4) knowledge sharing in the workplace, 2.5) continuous learning and professional development, and 2.6) supportive structures for PLC.
        2. The conditions, problems and needs for development were as followed:
            2.1 The development conditions had unclearly defined development guidelines, and an ONESQA’s quality assessment result indicated a need for quality improvement. Some teachers possessed limited knowledge of job development, employed conventional teaching and learning techniques, possessed limited skills in technology and media abilities, and were resistant to changes. 
            2.2 Problems were identified regarding teachers having limited understanding of job development in relation to adhering to set vocational education standards, opportunities of continuous professional development, and were less ambitious in regard to cultivating morality and ethics for themselves and their learners.
            2.3 The needs for job development based on vocational education standards consisted of two parts: 1) vocational education standards included: 1.1) building a learning society, 1.2) graduates’ desired characteristics, and 1.3) vocational education management. and 2) PLC components comprised: 2.1) learning together and teamwork, 2.2) shared vision, values, and norms, 2.3) knowledge sharing in the workplace, 2.4) a supportive structure for PLC, 2.5) continuous learning and professional development, and 6) participative leadership.
        3. The development guidelines based on vocational education standards using a process for building PLC consisted of nine projects with 22 activities.
        4. The effects after the college development based on vocational education standards revealed that:
            4.1 Each standard and component of the college operations achieved at a high level of satisfaction. In the first spiral, the first standard on building a learning society and the first component on learning together and teamwork were identified as needing improvement. In the second spiral, the progress development compared to the first spiral reached 92.40 and 93.60, respectively.
            4.2 Based on the overall development results, all concerned parties were aware of and gave importance to systematic management, and knowledge sharing. As a result, the college quality improved and met the standards set. Teachers designed instructional management that stimulated learner development in various aspects, and students demonstrated desirable characteristics. All parties were more involved in college activities. Parents, communities, and workplaces reported their satisfactory and increasing participation in college activities.

คำสำคัญ
มาตรฐานการอาชีวศึกษา ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Keywords
Vocational Education Standards, Professional Learning Community
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 17,243.57 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 10:48:06
View 397 ครั้ง


^