ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครพนม
Administrative Skills of School Administrators Affecting Effectiveness of Schools under Primary Educational Service Area Office in Nakhon Phanom Province
ผู้จัดทำ
อิศรา หาญรักษ์ รหัส 61421229121 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.ชรินดา พิมพบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครพนม ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 351 คน แบ่งออกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 117 คน และครูผู้สอน จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ทักษะการบริหารงานของผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่น .98 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, One-way ANOVA, ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product – moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนประสิทธิผลโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพตำแหน่งแตกต่างกัน โดยรวมมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประสิทธิผลโรงเรียนโดยรวมมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารและประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่มีขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน โดยรวมมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารและประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน โดยรวมมีความเห็นไม่แตกต่างกัน

5. ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานของผู้บริหาร กับประสิทธิผลโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครพนม โดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

6. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหาร ได้แก่ ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านเทคนิค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน ร้อยละ 8.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± .14934

7. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 3 ทักษะ ได้แก่

7.1 ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ได้แก่ ความสามารถในการมององค์การได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เพื่อทำให้องค์การสมบูรณ์โดยส่วนรวม ด้วยการทำให้การทำงานของแต่ละบุคคลเหมาะสมกับองค์การ  

7.2 ทักษะด้านความคิดรวบยอด ได้แก่ ความสามารถในการใช้ความรู้ วิธีการเทคนิค และเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อผลสำเร็จของงาน ที่ได้มาจากประสบการณ์การศึกษาและการฝึกอบรม ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.3 ด้านเทคนิค ต้องมีความสามารถในการตัดสินใจทำงานร่วมกับผู้อื่น และทำให้ผู้อื่นให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ซึ่งได้แก่ การจูงใจคนและการประยุกต์ความเป็นผู้นำมาใช้ในการบริหารงาน

Abstract

The purposes of this research were to examine administrative skills of school administrators affecting school effectiveness under Primary Educational Service Area Office in Nakhon Phanom. The sample, obtained through proportional stratified random sampling, were 117 directors, and 234 teachers, yielding a total of 351 participants from schools under Primary Educational Service Area Office in Nakhon Phanom in the academic year 2019. The research instrument for data collection was a rating scale questionnaire comprising two aspects: 1) administrative skills of school administrators with the reliability of .98; Aspect 2) school effectiveness with the reliability of .98. Statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The overall administrative skills of school administrators as perceived by participants were at a high level, while school effectiveness was at the highest level in overall.

2. The overall administrative skills of school administrators as perceived by participants from different positions showed statistical significance at .05 level, while overall school effectiveness showed statistical significance at .01 level.

3. The overall administrative skills of school administrators and school effectiveness as perceived by participants from different school sizes, showed statistical significance at .01 level.

4. The administrative skills of school administrators and school effectiveness as perceived by participants from different work experience, were not difference in overall. 

5. The administrative skills of school administrators and school effectiveness as a whole had a positive relationship at the .01 statistical significance level. 

6. The administrative skills of school administrators in terms of human relation skill and conceptual skill was able to predict the effectiveness of academic affairs administration at the .01 statistical significance level, while technical skill reached at the .05 statistical significance level. The administrative skills of school administrators had the predictive power of 8.10 percent and Standard Error of Estimates of ±.14934.

7. Administrative skills of school administrators affecting school effectiveness needing improvement consisted of three skills:

7.1 Human relation skill included ability to understand work organization thoroughly and work individually to meet organizational requirements.

7.2 Conceptual skill included ability, gained from educational experience and trainings, to apply knowledge, methods, and tools necessary to accomplish the tasks effectively. 

7.3 Technical skill consisted of ability to make decisions, work with others, and persuade others to cooperate for work performance, including motivating people and applying leadership for work management.

คำสำคัญ
ทักษะการบริหาร, ประสิทธิผลโรงเรียน
Keywords
Administrative Skills, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,945.23 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 ตุลาคม 2563 - 10:45:00
View 1311 ครั้ง


^