ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานใน โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 3
Conditions and Problems of Information Technology Utilization for Administration in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 AUTHOR Jeerawut Klongkleaw
ผู้จัดทำ
จีรวุฒิ คล่องแคล่ว รหัส 61421229123 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.ชรินดา พิมพบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 123 คน ครูธุรการ จำนวน 123 คน และครูผู้รับผิดชอบด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ จำนวน 123 คน รวมจำนวน 369 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม พบว่า ด้านสภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 ส่วนด้านปัญหาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One-Way ANOVA

1. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครูธุรการและครูผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหา   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย

2. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดของ ผู้บริหาร   ครูธุรการและครูผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณา   รายด้าน พบว่า ในด้านงบประมาณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดของ ผู้บริหาร   ครูธุรการและครูผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านวิชาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณา     รายด้าน พบว่า ด้านงบประมาณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน  สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดของ ผู้บริหาร    ครูธุรการและครูผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน พบว่า   รายด้านและโดยรวมไม่แตกต่างกัน ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกันพบว่า รายด้านและโดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ในการวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานในโรงเรียน ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สรุปได้ ดังนี้

5.1 ครูผู้รับผิดชอบจะต้องมีการค้นคว้าการพัฒนาด้านวิชาการบนระบบเครือข่ายให้ทันสมัย มีฐานเก็บข้อมูลที่ดี ทั้งชนิดออนไลน์ และออฟไลน์ ซึ่งจะต้องสามารถเลือกใช้ได้ทันที

5.2 ควรใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดเก็บข้อมูล การจัดอบรมพัฒนาครูในด้านนี้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ลงได้ และเลือกผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมกับงาน

5.3 ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเน้นให้ครูผู้สอนตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ซึ่งครูทุกคนต่างก็มีความพร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์อยู่แล้วเพียงแค่ให้ความสำคัญเท่านั้นเอง

Abstract

The purposes of this research aimed to examine conditions and problems of Information Technology (IT) Utilization for administration in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3. The samples, obtained through stratified random sampling, were 123 administrators, 123 administrative teachers, 123 teachers in charge of IT, yielding a total of 369 participants. The research instrument was a set of questionnaires containing conditions and problems of IT utilization for administration with the reliability of .90 and .95, respectively. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and One – Way ANOVA.

The findings were as follows :

1. IT utilization conditions for school administration, as perceived by participants, as a whole were at a high level, whereas the problems as a whole were at low level.

2. IT utilization conditions for school administration, as perceived by participants, as a whole, were not different. When considering in each aspecbudget management was different at the .01 statistical significance level. In terms of problems, IT utilization conditions as a whole and each aspect were not different.

3. IT utilization conditions for school administration, as perceived by participants with different work experiences as a whole, were different at the .05 statistical significance level. When each aspect was considered, IT utilization for academic affairs administration was different at the .05 statistical significance level. The IT utilization problems, classified by different work experiences, as a whole were not different. When each aspect was considered, budget administration was different at the .01 statistical significance level

4. IT utilization conditions and problems for school administration, as perceived by participants with different school sizes as a whole and each aspect, were not different.

5. The proposed guidelines for developing IT utilization for effective school administration drawn from the expert interviews could be summarized as follows:

5.1 Teachers in charge are required to maintain responsibility for the improvement of academic quality of modern network systems, and establish good databases both online and offline for immediate utilization.

5.2 Computer software programs for data storage should be implemented in school practices. Schools should also offer training in using of such software programs to avoid the problems experienced by users or difficulty in integrating computers into practices.   The selection process should involve  choosing a suitable person in charge for the required tasks.

5.3 Administrators must give attention to the importance of teachers’ awareness in IT utilization conducive to create optimal benefits. In other words, administrators should recognize teachers preparedness in terms of IT materials and equipment; the importance of IT awareness of school administrators should offer greater benefits in practices.

คำสำคัญ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารงานในโรงเรียน
Keywords
Information Technology Utilization, School Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,391.68 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 มิถุนายน 2563 - 22:52:08
View 1070 ครั้ง


^