สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 339 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 50 คน หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานบุคคล จำนวน 50 คน และครูผู้สอน จำนวน 239 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม คุณภาพของเครื่องมือมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.51 - 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบ t-test ชนิด Independent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน ตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 2) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และ 3) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนและกำหนดตำแหน่ง 2) ด้านการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ และ3) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
The purposes of this research were to investigate, compare, examine the relationship between transformational leadership and the effectiveness of personnel administration of school administrators, and establish the guidelines for developing transformational leadership and the effectiveness of personnel administration of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 21. The samples consisted of 50 school administrators, 50 heads of personnel administration group and 239 teachers, yielding a total of 339 participants working in schools under the Secondary Educational Service Area Office 21. The instruments for data collection included a form of interview, and a set of questionnaires with the IOC values of 1.00, the discriminative power ranging from 0.51 to 0.85 and the reliability of 0.98. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, One-Way ANOVA, and t-test for Independent Samples.
The findings were as follows:
1. Transformational leadership and the effectiveness of personnel administration of school administrators as perceived by participants were at a high level.
2. Transformational leadership and the effectiveness of personnel administration of school administrators as perceived by participants, classified by positions as a whole were different at the statistical significance level of .01.
3. Transformational leadership of school administrators as a whole was not different, whereas the effectiveness of personnel administration of school administrators, classified by provincial location, as a whole differed at the statistical significance level of .01.
4. The transformational leadership of school administrators, classified by work experiences, as a whole was different at the statistical significance level of .01, whereas the effectiveness of personnel administration of school administrators as whole was not different.
5. The transformational leadership of school administrators, classified by school sizes, as a whole differed at the statistical significance level of .01, whereas the effectiveness of personnel administration of school administrators as a whole was different at the statistical significance level of .05.
6. Transformational leadership of school administrators as a whole showed a positive relationship with the effectiveness of personnel administration of school administrators at the statistical significance level of .01.
7. The guidelines for developing transformational leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area 21 comprised three aspects: 1) Idealized Influence, 2) Intellectual Stimulation, and 3) Individualize Consideration. In addition, the guidelines for developing effectiveness of personnel administration of school administrators involved three aspects: 1) Planning and Positioning, 2) Disciplinary Action and Punishment, and 3) Performance Evaluation.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 14,671.44 KB |