ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร
Effectiveness of Personnel Management in Schools under the Local Administrative Organization in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
สงกรานต์ ตะโคดม รหัส 61421229130 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 200 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบไม่ใช้สัดส่วน (Non-proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .99 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .43 - .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มเป็นอิสระกัน (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีการของ Scheffe

ผลการวิจัย พบว่า

1. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง หน่วยงานต้นสังกัด โดยรวมและรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ส่วนการจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและลักษณะการเปิดสอนของ สถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

3. แนวทางยกระดับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและการจัดสรรตำแหน่ง ควรสำรวจข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างครบถ้วน แต่งตั้งบุคลากร เพื่อวางแผน รวบรวมและวิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการสร้างคู่มือการบริหารงานบุคคลให้สถานศึกษา และจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรตามจุดเน้นจุดเด่นของสถานศึกษา พร้อมกับรายงานข้อมูลไปยังหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อขอความเห็นชอบ 2) ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ควรรวบรวมข้อมูลตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ขาดแคลน มีการกระจายอำนาจในการสรรหา ดำเนินการสรรหาและบรรจุตามหลักธรรมาภิบาล มอบอำนาจให้ท้องถิ่นสามารถทำข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยในการผลิตครู ลดขั้นตอนในการสรรหาและการย้าย ร่วมกันพัฒนาติดตามก่อนบรรจุแต่งตั้งให้มีความรู้ตามมาตรฐานตำแหน่งอย่างเป็นธรรม 3) ด้านการพัฒนาบุคลากรเพื่อการปฏิบัติราชการ ควรวิเคราะห์ความจำเป็นและความต้องการ วางแผน พัฒนาบุคลากร โดยการมีส่วนร่วม สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและทบทวนความรู้เป็นระยะ และ 4) ด้านวินัยและการรักษาวินัย ควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวปฏิบัติข้อตกลงและวัฒนธรรมองค์กร จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติตามวินัยราชการ มีการอบรม/สัมมนา จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติทางวินัยและการรักษาวินัยและผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นแบบอย่างในด้านการปฏิบัติ

Abstract

 The purposes of this research were to study the effectiveness of personnel management in schools under the Local Administrative Organization (LAO) in Sakon Nakhon Province, as perceived by the sample of 200 school administrators and teachers, selected through non-proportional stratified random sampling, under the LAO in Sakon Nakhon Province in the 2019 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning the effectiveness of personnel management in schools under the Local Administrative Organization in Sakon Nakhon Province with a reliability of 0.99 and a discriminative power between .43 and .86. The statistical analysis included percentage, mean, and standard deviation. Hypotheses were tested by the method of Independent Sample t-test, One-Way ANOVA and Scheffe’s Pairwise Comparison of Means.

The findings were as follows:

1. The effectiveness of personnel management in schools under the Local Administrative Organization in Sakon Nakhon Province, as a whole, was at a high level.

2. The effectiveness of personnel management in schools under the Local Administrative Organization in Sakon Nakhon Province, classified by position and individual organization, as a whole and in each aspect, showed significant differences at a .01 level and .05 level respectively. In terms of work experience and type of school program provision, the results showed no difference.

3. The guidelines for upgrading personnel administration in schools under the Local Administrative Organization in Sakon Nakhon Province comprised four aspects: 1) Manpower planning and position classification. The resource planning activities should involve the following: conducting a survey on current trends of teachers and educators, appointing personnel to create systematical process for planning, collecting and analyzing, and examining data, developing personnel management manual for schools, establishing personnel development plans in accordance with the school focus and outstanding performance, and reporting to individual organization for approval; 2) In terms of recruitment and placement, the following activities should be performed: collecting teaching vacancies, decentralizing recruitment process, operating the process of recruitment and placement in accordance with principles of good governance, empowering local organization to form agreements with universities in producing teachers, minimizing recruitment and transfer process, cooperating and monitoring personnel development fairly before providing placement to ensure personnel obtaining the knowledge that meets the required standards;

3) in terms of human resources development for performing civil services, the following activities should be implemented: needs analysis, planning for personnel development through participation, morale encouragement for work performance and providing periodical reviews on personnel knowledge; 4) in terms of discipline and maintenance of discipline, there should be opportunities for stakeholders to participating in setting up the guidelines, agreements and organizational culture, to creating a manual of civil service discipline guideline, to providing workshops/seminar, to managing activities on discipline performance and maintenance discipline, and to be an exemplar of school administrators.

คำสำคัญ
ประสิทธิผล, การบริหารงานบุคคล
Keywords
Effectiveness, Personnel Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,119.61 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 มิถุนายน 2563 - 22:07:06
View 788 ครั้ง


^