ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Transformational Leadership of Administrators Affecting Work Motivation of Teachers in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
มัณฑนา ชุมปัญญา รหัส 61421229138 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ดร.ชรินดา พิมพบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 371 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 114 คน และครู จำนวน 257 คน จาก 114 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยแบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนก 0.23-0.96 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.89  แบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีค่าอำนาจำแนก 0.35-0.88 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson’s Product Moment Coefficient) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูใน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีลักษณะการเปิดสอนมีความแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนมีความสัมพันธ์กันทางบวก

6. ตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านการเสริมสร้างกำลังใจ (X4) และด้านกล้าท้าทายต่อกระบวนการทำงาน (X3) ที่สามารถพยากรณ์ ที่แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 77.80 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± 0.11 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้

สมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ

 Y'  = 0.68 + 0.55X4 + 0.29X3

สมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน

Zy'  = 0.63Z1  + 0.31Z2   

7. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ที่ควรได้รับการส่งเสริม จำนวน 2 ด้าน ได้แก่

7.1 ด้านการเป็นต้นแบบนำทาง ผู้นำควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งด้านการครองตน ครองคน ครองงาน เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้ประพฤติตาม ผู้นำควรมีความเป็นกัลยาณมิตร เก่งงาน สอนงานได้ มีความรอบรู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

7.2 ด้านการสร้างแรงบันดาลใจต่อวิสัยทัศน์ร่วม ผู้นำควร ประชุมครูเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อเป้าหมายขององค์กร ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญขององค์กร

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power, and establish the guidelines for promoting transformational leadership of administrators affecting teachers’ work motivation in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The samples consisted of 371 participants, including 114 school administrators and 257 teachers from 114 schools. The research tools for data collection were two sets of 5-rating scale questionnaires concerning administrators’ transformation leadership with the discriminative power ranging from 0.23 to 0.96 and the reliability of 0.89; and teachers’ work motivation with the discriminative power ranging from 0.35 to 0.88 and the reliability of 0.93. The statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's Product Moment Coefficient, One-Way ANOVA, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows :

1. The administrators’ transformational leadership and teachers’ work motivation as perceived by participants were at the highest level.

2. The administrators’ transformational leadership and teachers’ work motivation as perceived by participants classified by positions as a whole and each aspect were not different.

3. The administrators’ transformational leadership and teachers’ work motivation as perceived by participants classified by different type of education program as a whole and each aspect were not different.

4. The administrators’ transformational leadership and teachers’ work motivation as perceived by participants classified by different work experiences as a whole and each aspect were not different.

5. The administrators’ transformational leadership and teachers’ work motivation as perceived by participants had a positive relationship.

6. The variables of administrators’ transformational leadership comprised two aspects: Encouragement (X4) and Challenging work process (X3) were able to predict teachers’ work motivation with a statistical significance at the level of .01. The said variables had the predictive power of 77.80 percent and a standard error  of estimate ± 0.11 and could be written as the following equations.

The regression equation of raw scores could be summarized as follows:

Y' = 0.68 + 0.55X4 + 0.29X3

And the regression equation of standardized scores could be written as follows:

Zy' = 0.63Z1  + 0.31Z2   

7. Administrators’ transformational leadership comprised two aspects needing improvement:

7.1 Modeling the Way. Leaders should set an example for colleagues to follow in terms of self-management, people management and job management. Leaders should also demonstrate the following qualities: human relation, work- related expertise, coaching, personal mastery and ongoing self-improvement.

7.2 Inspiring shared vision. Leaders should conduct regular meetings enabling teachers to mutually define a shared vision for achieving organizational goals. In addition, teachers and school stakeholders should create mutual understanding to raise organizational awareness and importance.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
Keywords
Transformational Leadership, Work Motivation
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 11,494.98 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
16 มิถุนายน 2563 - 11:13:45
View 2257 ครั้ง


^