ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานบุคคลกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
The Relationship Between Personnel Management and Effectiveness of Teachers’ Performance under Secondary Educational Service Area Office 22
ผู้จัดทำ
สุดาทิพย์ ถวิลไพร รหัส 61421229141 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม, ดร.วรกัญญาพิไล แกระหัน
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหาร งานบุคคลกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานบุคคลและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 360 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 52 คน ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล จำนวน 52 คน และครูผู้สอน จำนวน 256 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การบริหารงบุคคลของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 และด้านที่ 2 ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, One-Way ANOVA และค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product - moment correlation)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามจังหวัดที่ตั้งโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

3. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

4. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนขนาดของโรงเรียน และจังหวัดที่ตั้งโรงเรียน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

5. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานบุคคลกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน สถานศึกษาควรมีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย เปิดโอกาสให้บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมในประเมินผลการปฏิบัติงาน และ2) ด้านการออกจากราชการ ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างความเข้าใจและเป็นแบบอย่างในการรักษาระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานร่วมกัน สำหรับแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการปฏิบัติตน ให้สถานศึกษาส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาควรมีระบบนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ พร้อมทั้งเชื่อมโยงการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพตามความสามารถ

Abstract

The purpose of this research was to examine the relationship between personnel management and effectiveness of teachers’ performance under Secondary Educational Service Area Office 22. The sample, obtained through multi-stage sampling, comprised 52 school administrators, 52 teachers as heads of personnel management group, and 256 teachers, yielding a total of 360 participants working under Secondary Education Service Area Office 22 in the academic year 2019. The research instrument for data collection was a set of rating scale questionnaires containing two aspects: Aspect 1: School personnel management with the reliability of 0.95; Aspect 2: Effectiveness of teachers’ work performance with the reliability of 0.87. The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and One – Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis. 

The findings were as follows:

1. School personnel management as perceived by participants were at the highest level in overall. 

2. School personnel management and effectiveness of teachers’ work performance perceived by participants with different positions, and work experiences as a whole showed statistical significance at .01 level. With regard to provincial   school locations, the analysis found a statistically significant difference at the .05 level in overall. No statistically significant difference was found in terms of school sizes in overall.

3. The effectiveness of teachers’ work performance as perceived by participants as a whole was at the highest level.

4. The effectiveness of teachers’ work performance perceived by participants with different positions and work experiences as a whole showed statistical significance at .01 level. As for different provincial school locations, no statistically significant difference was found in overall.

5. The school personnel management and the effectiveness of teachers’ work performance had a positive relationship at the .01 level of statistical significance.

6. The guidelines for developing school personnel management consisted of two aspects: 1) Work performance evaluation. Schools should have plans for work performance evaluation, a clear set of goal establishment, and provide school personnel opportunities to participate in work performance evaluation, and 2) Termination of employment. School administrators should create understanding and be role models in maintaining regulations and rules for professional practices. The guidelines for developing effectiveness of teachers' work performance consisted of two aspects: 1) Self-behaviors. Schools should support teachers’ performance with teaching spirit, and ongoing self-training. 2) Learning Management. Schools should have a system of supervision, monitoring and inspection, promote learning management development with a wide range of learning resources, and utilize media and digital technology for developing learners to reach their full potential and ability.

คำสำคัญ
การบริหารงานบุคคล, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอน
Keywords
Personnel Management, Effectiveness of Teachers’ Performance
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 15,752.12 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 ตุลาคม 2563 - 15:09:14
View 954 ครั้ง


^