ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาชุดฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์โดยการเรียนรู้ แบบโครงงานร่วมกับเทคนิค STAD ที่เสริมสร้างการคิดวิเคราะห์พฤติกรรมความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of Package for Training Scientific Skills Using Project-based Learning and STAD Techniques Affecting Prathom Suksa 5 Students’ Critical Thoughts, Collaborative Behaviors and Learning Achievements
ผู้จัดทำ
เจวรี ศรีจันไชย รหัส 61421231104 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี กลางประพันธ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.สมเกียรติ พละจิตต์ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดงวิทยาคาร จังหวัดนครพนม จำนวน 24 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับเทคนิค STAD 2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 3) แบบวัดพฤติกรรมความร่วมมือ 4) และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples)

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ชุดฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 86.40/ 88.88 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80

          2. ผลการเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับเทคนิค STAD พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับเทคนิค STAD พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          4. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับเทคนิค STAD พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

          This research aimed to 1) develop the package for training Prathom Suksa 5 students’  scientific skills using Project-based Learning and STAD techniques to contain the efficiency criteria of 80/80, 2) compare Prathom Suksa 5 students’ critical thoughts before and after implementing the developed training package, 3) compare Prathom Suksa 5 students’ cooperative behaviors before and after using the developed training package, and 4) compare Prathom Suksa 5 students’ learning achievements before and after installing the developed package for training Prathom Suksa 5 students’  scientific skills using Project-based Learning and STAD techniques. Obtained through stratified random sampling method, the samples consisted of 24 Prathom Suksa 5 students who enrolled in the second semester of 2019 academic year at Ban Dong Wittayakarn School, Nakhon Phanom Province. The instruments employed for the study were the package for training Prathom Suksa 5 students’ scientific skills using Project-based Learning and STAD techniques, the test for evaluating the students’ critical thoughts, the test for measuring the students’ cooperative behaviors, and achievement test. Statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation and t- test (Dependent Samples). 

          The findings of this study were as follows:

          1. The developed package for training Prathom Suksa 5 students’ scientific skills using Project-based Learning and STAD techniques had the efficiency of 86.40/85.83 which was higher than the established 80/80 criteria.

          2. After the students had been taught through the developed package for training Prathom Suksa 5 students’ scientific skills using Project-based Learning and STAD techniques, their critical thoughts were significantly higher than those of before at .05 statistical level.

          3. After the students had been taught through the developed package for training Prathom Suksa 5 students’ scientific skills using Project-based Learning and STAD techniques, their cooperative behaviors were significantly higher than those of before at .05 statistical level.

         4. After the students had been taught through the developed package for training Prathom Suksa 5 students’ scientific skills using Project-based Learning and STAD techniques, their learning achievements were significantly higher than those of before at .05 statistical level.

คำสำคัญ
ชุดฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบโครงงาน, เทคนิค STAD, การคิดวิเคราะห์, พฤติกรรมความร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Keywords
Package for training scientific skills, Project-based Learning, STAD technique, critical thoughts, collaborative behavior, learning achievement
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,386.41 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
25 กุมภาพันธ์ 2567 - 11:00:43
View 480 ครั้ง


^