สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) ระดับขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก 4) อำนาจพยากรณ์พฤติกรรมของผู้นําของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อขวัญและกําลังในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก และ 5) แนวทางพัฒนาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้ดูแลเด็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม จำนวน 289 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน การได้มาของกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.72 และค่าความเชื่อมั่น 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจ (X4) ด้านการมุ่งเน้นความสำเร็จ(X1) ด้านการมุ่งความสัมพันธ์รายบุคคล (X5) และด้านการมีส่วนร่วม (X3) สามารถพยากรณ์ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก (Y) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรทั้ง 4 ตัว ร่วมกันพยากรณ์ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก ได้ร้อยละ 55.40 โดยสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y' = 11.47 + 3.11X4+ 5.11X1 + 4.44X5 + 3.83X3
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z'y = 0.15Z4 + 0.28Z1 + 0.27Z5 + 0.19Z3
5. แนวทางพัฒนาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี 2 ด้าน คือ 1) ด้านการมีส่วนร่วม และ 2) ด้านการมุ่งความสัมพันธ์รายบุคคล
The objectives of this research were to study 1) the levels of leadership behavior of child development center directors, 2) the levels of work morale of child care teachers, 3) the relationship between leadership behavior of the child development center directors and work morale of the child care teachers; 4) the predictive power of the leadership behavior of the child development centers directors affecting work morale of child care teachers, and 5) approaches on the improvement of leadership behavior of the child development center directors under the local administrative organizations in Nakhon Phanom Province. Sample group consisted of 289 child care teachers The group size was determined by the application of Krejcie & Morgan Table. The samples were selected using multi-stage random sampling. The instrument used in data collection was a 5-level rating scale questionnaire with content validity index between 0.80-1.00, discrimination power index between 0.20-0.72 and reliability index at 0.93. The statistical software program was used in data analysis for frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson correlation coefficients, as well as stepwise multiple regression analysis.
The results were as follows.
1. The leadership behavior of the child development center directors under the local administrative organizations in Nakhon Phanom Province in overall and each aspect were at high level.
2. The work morale of the child care teachers under the local administrative organizations in Nakhon Phanom Province in overall and each aspect were at high level.
3. The leadership behavior of the child development centers directors showed high positive relationship with work morale of child care teachers under the local administrative organizations in Nakhon Phanom Province with a statistical significance at .01 level.
4. The leadership behavior of the child development center directors on motivation enhancement (X4), concentration on success (X1), emphasis on individual relationship (X5) and participation and engagement (X3) could altogether predict work morale of child care teachers (Y) under the local administrative organizations in Nakhon Phanom Province at a statistical significance at .01 level. Predictive power of the 4 aforementioned variables on work morale of child care teachers under the local administrative organizations in Nakhon Phanom Province was at 55.40 percent. The predictive equation was constructed as follows.
The predictive equation in unstandardized score:
Y' = 11.47 + 3.11X4+ 5.11X1 + 4.44X5 + 3.83X 3
The predictive equation in standardized score:
Z'y = 0.15Z4 + 0.28Z1 + 0.27Z5 + 0.19Z3
5. There were 2 approaches on the leadership behavior improvement for the child development center directors: 1) participation and engagement and 2) emphasis on individual relationship
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 4,160.78 KB |