สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) สร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษ การดำเนินการมี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษ ดำเนินการโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครูภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 280 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60–1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .484-.726 ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.98 และระยะที่ 3 การสร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษ ดำเนินการตรวจสอบความเหมาะสมโดยครูภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย 67 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นด้านความรู้ จำนวน 23 ตัวบ่งชี้ ด้านทักษะ จำนวน 28 ตัวบ่งชี้ และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 16 ตัวบ่งชี้
2. โมเดลโครงสร้างสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 70.31, df = 58, p-value = 0.12885, GFI = 0.97, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.028, CN=362.68) และค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 67 ตัวบ่งชี้ ระหว่าง 0.35–0.62
3. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this research were to: 1) develop the competency indicators for English teachers, 2) test the goodness of fit of the structural model of competency indicators for English teachers with the empirical data, and 3) develop a handbook on competency indicators for English teachers. The process of this study was divided into three phases: 1) the development of the competency indicators for English teachers, 2) the investigation of the goodness of fit of the structural model of competency indicators for English teachers with the empirical data. The data were collected from 280 English teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office 22 in academic 2019. The samples were collected using multi-stage sampling. The instrument employed in data collection was a 5-rating scale questionnaire which obtained the validity index between 0.60-1.00, discrimination index between .484-.726, reliability index using Cronbach's Alpha Coefficient at 0.98, and 3) the development of a handbook on competency indicators for English teachers and the validation of the handbook by 5 experienced English teachers. The collected data were analyzed using statistical software program.
The findings revealed that:
1. The competency indicators of English teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office 22 comprised of three core components, 14 subcomponents, and 67 indicators, which were distinguished as 23 indicators for knowledge, 28 indicators for skills and 16 indicators for personal characteristics.
2. The structural model of competency indicators for English teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office 22 were consistent with empirical data with Chi-square value = 70.31, df = 58, p–value = 0.12885, GFI = 0.97, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.028, CN = 362.68, and the factor loading of 67 indicators was between 0.35-062.
3. The appropriateness of the handbook on competencies indicators for English teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office 22 was at the highest level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 12,042.08 KB |