ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Transformational Leadership of Administrators Affecting Teaching Behaviors of Teachers under Buengkan Primary Educational Service Area Offic
ผู้จัดทำ
พิศมัย สุวรรณบุผา รหัส 61421247113 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า , ดร.ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการสอนของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับพฤติกรรมการสอนของครู 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสอนของครู 5) หาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสอนของครู การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร กับพฤติกรรมการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ และตอนที่ 2 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมานค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมีค่าความตรงระหว่าง .80–1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .46-.88 และค่าความเชื่อมั่น .98 และแบบสอบถามด้านพฤติกรรมการสอนของครู มีค่าความตรง ระหว่าง .80–1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .49-.89 และค่าความเชื่อมั่น .98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. พฤติกรรมการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับพฤติกรรมการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสอนของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ (X1) และด้านการกระตุ้นทางปัญญา (X3) ซึ่งสามารถสร้างสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
                Y' = 1.73 + .43X1 + .20X3

 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
                 Z'y = .51Z1 + .27Z3

5. ผู้วิจัยนำตัวแปรที่มีผลต่อพฤติกรรมการสอนของครู อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มาสร้างเป็นแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร
 

Abstract

This research aimed to: 1) explore the transformational leadership levels of administrators, 2) to explore the teaching behaviors of teachers, 3) examine the relationship between transformational leadership of administrators and teaching behavior of teachers, 4) investigate the predictive power of leadership, changes of administrators affecting teaching behavior of teachers. 5) identify the guideline to develop transformational leadership of administrators affecting teaching behaviors of teachers. The research procedures were divided into two stages comprised Stage 1: the examination of relationship between transformational leadership of administrators and teaching behavior of teachers under Buengkan Primary Educational Service Area Office, and Stage 2: the identification of guideline to develop transformational leadership of administrators affecting teaching behaviors of teachers under Buengkan Primary Educational Service Area Office. The instruments used in data collection comprised a 5-rating scale questionnaire on transformational leadership which obtained content validity index between 80–1.00, discrimination power index between .46-.88 and reliability index at .98, and a questionnaire on teaching behaviors of teachers which obtained content validity index between 80–1.00, discrimination power index between .49-.89 and reliability index at .98. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation Pearson Product – Moment Correlation Coefficients and stepwise multiple regression analysis.

The results showed that:

1. The transformational leadership of administrators under Buengkan Primary Educational Service Area Office was at high level.

2. The teaching behaviors of teachers under Buengkan Primary Educational Service Area Office was at high level.

3. The transformational leadership of administrators and the teaching behaviors of teachers under Buengkan Primary Educational Service Area Office were highly positive correlated with statistical significance at .01.

4. The transformational leadership of administrators affecting teaching behaviors of teachers with statistical significance at the .05 comprised 2 aspects, namely ideological influence (X1) and cognitive stimulus (X3), which could write the following equation.

 Equation in raw score format
                Y'x = 1.727+.430 X1+.196 X3 

Equations in standardized score format
                Z'y = .510 Z1 + .270 Z3

5. The researcher applied the variables affecting teaching behavior of teachers with statistical significance at.05 to create the guideline to develop transformational leadership of administrators.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร พฤติกรรมการสอนของครู โรงเรียนประถมศึกษา
Keywords
Transformational Leadership of Administrators, Teaching Behavior of Teachers, Primary Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,812.64 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:25:33
View 353 ครั้ง


^