ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของนักเรียนโรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Development of a Training Curriculum on School Age Pregnancy Prevention for Students in Nanguaradrangsan School under the Secondary Educational Service Area Office 22
ผู้จัดทำ
ปาณิสรา ตะนุมงคล รหัส 61421247124 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ดร. พรเทพ เสถียรนพเก้า
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน และ 2) ประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกัน การตั้งครรภ์ในวัยเรียน โดยการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม และศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้หลักสูตรหลังการฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม  ระยะที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมและ ระยะที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ  มากที่สุด และมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความยากระหว่าง 0.33–0.73 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.28–0.85 และค่าความเชื่อมั่น 0.74 แบบทดสอบอัตนัยมีค่าความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ ค่าความยากระหว่าง 0.46–0.54 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.58–0.83  และค่าความเชื่อมั่น 0.80 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทดสอบทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหาของหลักสูตร 3) กิจกรรมการฝึกอบรมของหลักสูตร และ 4) การวัดและประเมินผลหลักสูตร

2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของนักเรียนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study were to: 1) develop a training curriculum to prevent school age pregnancy, and 2) evaluate the use of the training curriculum to prevent school age pregnancy by comparing students' knowledge and understanding on school age pregnancy prevention between before and after training, and studying the level of students’ satisfaction toward the curriculum implementation after training. The study was conducted in four phases. The first phase was the study and analysis of fundamental information for the training curriculum development. The second phase was the training curriculum construction. The third phase was the training curriculum implementation. The forth phase was the training curriculum improvement. The target groups included 45 Mathayomsuksa Three students at Nanguaradrangsan School, Nawa District, Nakhon Phanom Province under the Secondary Educational Service Area Office 22. They were studying in semester 1, academic year 2020. The target groups were selected using cluster random sampling. Research instruments included the training curriculum on school age pregnancy prevention, which obtained  the appropriateness at the highest level, and the IOC index between 0.60 - 1.00, an achievement test on school age pregnancy prevention, which was a multiple choice test, obtained the IOC index between 0.80-1.00, the difficulty index between 0.33 - 0.73, the discrimination index between 0.28-0.85, and the reliability index at 0.74, a subjective test with IOC index at 1.00 in all items, the difficulty index between 0.46-0.54, the discrimination index between 0.58-0.83, and the reliability index at 0.80, a questionnaire on students’ satisfaction toward the training curriculum obtained  the IOC index between 0.80-1.00. The statistics employed in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.

The results of the study revealed that, 

1. The training curriculum to prevent school age pregnancy consisted of four components, which were 1) objectives, 2) contents, 3) activities, and 4) assessment and evaluation of the curriculum.

2. The results of the implementation of the training curriculum to prevent school age pregnancy included 1) the knowledge and understanding of students on school age pregnancy prevention after training was higher than before training with statistical significance at .01 level, and 2) the students’ satisfactions toward the training curriculum was at the highest level.

คำสำคัญ
การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรม, การตั้งครรภ์ในวัยเรียน
Keywords
curriculum development, training curriculum, school age pregnancy
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,520.24 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 23:09:41
View 236 ครั้ง


^