ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดสกลนคร
Knowledge and Attitudes Affecting Health Promotional Behaviors of Buddhist Monks in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
สุริยา ญาณสิทฺธิ (ศรีอบมา) รหัส 61426423109 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง , รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดสกลนคร อยู่ในระดับใด 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดสกลนคร ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ และทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระภิกษุในเขตจังหวัดสกลนคร จำนวน 376 รูป ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  

ผลการวิจัยพบว่า 

1. ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =4.09) ทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =4.00) พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ ในจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =4.01)

2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์จังหวัดสกลนคร ตามปัจจัยส่วนบุคคล อันประกอบด้วย อายุ พรรษา ระดับการศึกษาโรคประจำตัวและระยะเวลาการตรวจสุขภาพ พบว่า ไม่แตกต่างกัน ตามปัจจัยส่วนบุคคล

3. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทุกตัวแปรสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 67.30 โดยองค์ประกอบของความรู้ที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากที่สุด คือ ด้านการจัดการความเครียด (β =.406) รองลงมาคือ ด้านการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม และการสูบบุหรี่ (β=.331) ด้านการขับถ่าย (β=.161) และด้านการรักษาพยาบาลตนเองและการตรวจสุขภาพประจำปี (β=.134) และด้านการออกกำลังกายและการหลับนอน (β=.097) ตามลำดับ

4. ทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์สามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 66.70   โดยองค์ประกอบของทัศนคติสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากที่สุด คือ ด้านความรู้สึก (β=.439) ด้านความคิดความเชื่อ (β=.420) และด้านพฤติกรรม (β=.112) ตามลำดับ
 

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to study the level of health promotional behaviors of the Buddhist monks in Sakon Nakhon Province , 2) to compare health promotional behaviors of the Buddhist monks of Sakon Nakhon Province on the basis of their personal traits, and 3) to study  the influences of the knowledge of and the attitudes towards health on health promotional behaviors of the Buddhist monks in Sakon Nakhon Province. Using the stratified random sampling  techniques, the samples consisted of 376 of Buddhist monks in Sakon Nakhon province. The instrument used for data collection was a questionnaire and statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t–test, One–way ANOVA and Multiple Linear Regression Analysis.

The study unveiled these results:

1. The knowledge of health of Buddhist monks in Sakon Nakhon Province, as a whole, was at the high level (x =4.09). Likewise, the attitudes towards health of the Buddhist monks in Sakon Nakhon Province, as a whole, were at the high level (x =4.00). In a similar vein, health promotional behaviors of the Buddhist monks in Sakon Nakhon Province, as a whole, were at the high level (x =4.01).

2. Comparing health promotional behaviors of the Buddhist monks in Sakon Nakhon Province on the basis of their personal traits – ages, periods of monkhood, educational backgrounds, frequent symptoms or diseases, and health examination periods, it was found that their health promotional behaviors did not differ.

3. Knowledge of all variables of health care could be used to correctly predict health promotional behaviors of the Buddhist monks in Sakon Nakhon Province 67.30%. Of all these variables/elements of knowledge of health care, it was found that stress management gained the highest prediction power of Sakon Nakhon Buddhist monks’ health promotional behaviors (β=.406). At the same time, the consumption of food, beverages and smoking gained the second highest prediction power (β=.331); excretion contained the third highest prediction power (β=.161);  self-care and annual health check attained the fourth  highest prediction power (β=.134); and exercise and sleep had the least prediction power (β=.097),  respectively.

4. The attitude towards health care of the monks could be used to correctly predict the health promotional behaviors of the Buddhist monks in Sakon Nakhon Province 66.70%.  Of these attitudes, the feelings had the highest prediction power of Sakon Nakhon Buddhist monks’ health promotional behaviors (β=.439). Meanwhile, their thoughts and beliefs contained the second highest prediction power (β=.420); but their behaviors gained the least prediction power (β=.112), respectively.
 

คำสำคัญ
ความรู้ ทัศนคติ การส่งเสริมสุขภาพ พระสงฆ์
Keywords
Knowledge, attitude, health promotion, Buddhist monks
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 16,601.36 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 สิงหาคม 2564 - 01:49:22
View 409 ครั้ง


^