สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม จำนวน 216 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.71) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ และสุขภาพของพนักงาน ( =3.99) รองลงมาคือ ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ( =3.89) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ( =3.15)
2) ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.89) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความผูกพันต่อองค์การในระดับมาก ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความทุ่มเทความพยายามในการปฏิบัติงาน ( =4.17) รองลงมาคือ ด้านความต้องการที่จะดำรงความเป็นสมาชิกขององค์การ ( =3.77) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการยอมรับเป้าหมาย นโยบาย การบริหารงานขององค์การ ( =3.68)
3) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยถูกสุขลักษณะและสุขภาพของพนักงาน ด้านโอกาสพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านประชาธิปไตยในองค์การ ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว และด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม ได้ร้อยละ 56.60
4) แนวทางในการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม ได้แก่ ควรมีการกำหนดนโยบายและการบริหารงานที่มีแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เปิดโอกาสให้กับบุคลากรมีความเป็นอิสระในการทำงานที่เหมาะสม ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการประเมินผลการปฏิบัติงานควรยึดระบบคุณธรรมมากกว่าระบบอุปถัมภ์ โดยเน้นคุณภาพงานและผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก และนำหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ โปร่งใส ยุติธรรม และได้มาตรฐานมาใช้ในการประเมินผล และควรจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่มีปริมาณและคุณภาพให้มากพอกับการทำงาน
The purposes of this research included the following: 1) to investigate the quality of work life and the organizational commitment of the supportive staff of Nakhon Phanom Hospital, 2) to study the influences of the quality of work life on the organizational commitment of the supportive staff of Nakhon Phanom Hospital, and 3) to examine and gain guidelines on developing the organizational commitment of the supportive staff of Nakhon Phanom Hospital. The samples consisted of 216 supportive staff of Nakhon Phanom Hospital. A questionnaire is an instrument employed for data collection whereas frequency, percentage, mean, standard deviation, and Multiple Linear Regression Analysis were adopted as the statistics for analyzing the data.
The results were as follows:
1. The quality of work life of the supportive staff of Nakhon Phanom Hospital, as a whole, was at the high level ( =3.71). Contemplating each aspect, it was found that the supportive staff’s safety, hygiene, and health were at the highest level ( =3.99) while the quality of their work life which benefited the society was at the second highest level ( =3.89). In contrast, the adequate payment and justice were perceived at the lowest level ( =3.15).
2. The organizational commitment of the supportive staff of Nakhon Phanom Hospital, as a whole, was at the high level ( =3.89). Contemplating each aspect, it was found that every aspect was at the high level. Of these aspects, it was found that putting their effort into their work was at the highest level ( =4.17); the desire to maintain the organizational membership was at the second highest level ( =3.77); and accepting the organizational goals, policies and management was at the lowest level ( =3.68).
3. About the quality of work life of the supportive staff of Nakhon Phanom Hospital, it was found that these aspects significantly influenced on Nakhon Phanom Hospital’s supportive staff’s organizational commitment at .05 statistical level: safety, hygiene, health; self-development opportunity; social integration/teamwork or collaborative work; organizational democracy; work and personal life balance; and the job traits that were beneficial to the society. The study also showed that these aspects/factors could be altogether used to correctly predict the organizational commitment of the supportive staff of Nakhon Phanom Hospital 56.60%.
4. Several guidelines on developing the organizational commitment of the supportive staff of Nakhon Phanom Hospital were obtained from the study. The policy and advice on managing and developing the efficiency of performing the jobs of the supportive staff should be established. The supportive staff should be suitably given certain liberty and the chance to perform their jobs. At the same time, their technology knowledge and capacities should be promoted. Good governance and merit system rather than patronage system with the emphasis on job quality and achievement should be adopted for evaluating job performances of the supportive staff. Efficient criteria for job performance assessment which contain transparency, justice, and standards should be employed. Facilities, appliances, materials, stationery and other supplies should be adequately and appropriately provided for them both in terms of quantity and quality.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,717.76 KB |