ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร
Influences of Human Resources Management on the Efficiency of Local Government Organizations in Mueang Sakon Nakhon Area
ผู้จัดทำ
ณัฐพล อินธิแสง รหัส 61426423128 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จำนวน 268 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.397-.874 ค่าความเชื่อมั่น .855 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x =3.89) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การจัดหาทรัพยากรมนุษย์ ( x =4.06) รองลงมาคือ การธำรงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์ (x  =3.84) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ( x =3.81) และการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ ( x =3.80) ตามลำดับ

2. ประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x  =4.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ ( x =3.98) รองลงมาคือ ด้านการบริการสาธารณะ   (x  =3.90) ด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา ( x =3.85) ด้านการบริหารงานการเงินและการคลัง (x  =3.61) และด้านธรรมาภิบาล (x  =3.58) ตามลำดับ

3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการธำรงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์  (β=.430) ด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ (β=.221) และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (β=.173) มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายได้ว่าองค์ประกอบดังกล่าวสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 59.30 (R2 = .593) 
 

Abstract

      The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of human resources management of the local government organizations in Mueang Sakon Nakhon District, 2) to investigate the level the efficiency of the local government organizations in Mueang Sakon Nakhon District, 3) to examine the influences of human resources management on the efficiency of the local government organizations in Mueang Sakon Nakhon District. The samples consisted of 268 staff of the local government organizations in Mueang Sakon Nakhon District. They were obtained by stratified and random sampling techniques. The instrument used for data collection was the questionnaire. IOC between 0.80-1.00, classification power 0.397-.874, confidence value .855 Statistics employed were frequency, percentage, mean, standard deviation and Multiple Regression Analysis.

The study revealed these results:

1. Human resources management of the local government organizations in Mueang Sakon Nakhon District, as a whole, was at the high level ( x =3.89). Contemplating each aspect, it was found that human resources recruitment and acquisition gained the highest mean (x  =4.06), human resources retention and protection were at the second highest level ( x =3.84), human resources development was at the third highest mean (x  =3.81), and rewarding human resources was at the lowest level ( x =3.80), respectively.

2. The efficiency of the local government organizations in Mueang Sakon Nakhon District, as a whole, was at the high level (x  =4.39). Contemplating each aspect, it was found that the management gained the highest mean (x  =3.98),  public services were at the second highest mean (x =3.90),  human resources and council management contained the third highest mean ( x =3.85), finance/treasury was at the fourth highest mean (x  =3.61), and good governance was at the lowest mean ( x =3.58), respectively.   

3. Of the human resources management, human resources retention and protection (β=.430), rewarding human resources (β=.221) and human resources development (β=.173) had the prediction power of the efficiency of the local government organizations in Mueang Sakon Nakhon District at .05 statistical level of significance. It was explainable that these components altogether could be used to foretell the level of an efficiency of efficiency of the local government organizations in Mueang Sakon Nakhon District 59.30% (R2 = .593). 

คำสำคัญ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประสิทธิภาพ
Keywords
Human Rresources management, Efficiency
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,141.15 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 15:09:17
View 480 ครั้ง


^