ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
คุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร
Services Quality of Damrongdhama Center Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
นิจปฏิภาณ มาตขาว รหัส 61426423132 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สามารถ อัยกร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม-21 สิงหาคม พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

 ผลการวิจัยพบว่า 

1. ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =4.18) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีคุณภาพการให้บริการในระดับมาก ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความน่าเชื่อถือในการบริการ (x =4.37) รองลงมาคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ( x=4.33)  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ ( x=3.94) 

2. ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อาชีพ และประสบการณ์การมาขอรับบริการ มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน

3. แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร ได้แก่ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร ควรมีการวางนโยบายให้มีการเพิ่มจำนวนบุคลากรให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานและกฎระเบียบข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ เช่น กฎหมายที่ดิน กฎหมายหนี้สิน เป็นต้น ควรส่งเสริมและปลูกฝังให้บุคลากรให้ความสำคัญกับปัญหาของประชาชนมากยิ่งขึ้น ให้มุ่งมั่นเต็มใจช่วยเหลือผู้มารับบริการด้วยความกระตือรือร้น  หน่วยงานในระดับนโยบายควรมีการกำหนดนโยบายในการสร้างระบบการควบคุมคุณภาพเพื่อให้งานของศูนย์ดำรงธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการวางระบบการตรวจสอบและกวดขันผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดเป็นรูปธรรม โดยออกเป็นกฎ ระเบียบ หรือแนวทางการปฏิบัติอย่างชัดเจน
   

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of services quality of Damrongdhama Center, Sakon Nakhon Province, 2) to compare the quality of services quality of Damrongdhama Center, Sakon Nakhon Province.on the basis of different personal traits, and 3) to examine and gain the guidelines on developing the services quality of Damrongdhama Center, Sakon Nakhon Province.The samples were 400 people who visited and requested for services at Sakon Nakhon Damrongdhama Center during 20 July-21 August, 2020. The instrument used for data collection was a questionnaire and statistics employed for data analysis incorporated frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test, and One – way ANOVA.

The research revealed these results:

1. The people’s opinion of services quality of Damrongdhama Center, Sakon Nakhon Province. as a whole, was at the high level (x =4.18). Contemplating each aspect, it was found that every aspect was at the high level. Of all aspects, the credibility of the services gained the highest mean (x =4.37). The concreteness/ tangibility of services obtained the second highest mean ( x=4.33). However, the sympathy to the service users contained the lowest mean (x =3.94).

2. The people whose ages, educational backgrounds, and monthly incomes differed significantly had different opinions on services quality of Damrongdhama Center, Sakon Nakhon Province at .00 statistical level. Nonetheless, those with different genders, careers and experiences of using the services, as a whole, did not have different opinions on services quality of Damrongdhama Center, Sakon Nakhon Province.

3. Useful guidelines were given to improve services quality of Damrongdhama Center, Sakon Nakhon Province. Sakon Nakhon Damrongdhama Center should set the policy for increasing the number of personnel so that the people’s problems will be solved quickly and efficiently. The personnel should be sent to attend trainings in order to develop the knowledge about performing their jobs. They should be sent to have lessons or to learn about any legal information and regulations included in the pledges and complaints filed by the people; for instance, land bills or laws on debts. The personnel of Sakon Nakhon Damrongdhama Center should be instilled in them to give top priority or more attention to the people’s problems. They should be determined or have intent to serve the service users or to solve the people’s problems with keenness. The offices which are authorized to established the policies should set the policies on creating the systems to control the quality so that the jobs and performances of Sakon Nakhon Damrongdhama Center will be carried out efficiently. The systems to check and strengthen the staff’s duties and jobs in compliance with the laws and regulations should be concretely and evidently installed. Palpable laws, regulations and practices should be established and enacted.
 

คำสำคัญ
คุณภาพการให้บริการ, ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร
Keywords
Quality of services, Sakon Nakhon Damrongdhama Center
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,754.92 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 กรกฎาคม 2564 - 11:13:08
View 300 ครั้ง


^