สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จำนวน 288 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (c=4.05) และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.89)
2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์การทำงาน และสังกัด พบว่าพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แรงจูงใจในการทำงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา (MOT3) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (MOT5) และด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ (MOT7)มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ได้ร้อยละ 63.80 ยกเว้นด้านค่าตอบแทน (MOT1) ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (MOT2) ด้านนโยบายและการบริหาร (MOT4) และด้านความมั่นคงในงาน (MOT6)
The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of work motivation and the organizational citizenship behaviors of the local administration organizations’ employees, 2) to compare the organizational citizenship behaviors of the local administration organizations’ employees based on the individual’s qualities, 3) to examine the influence of work motivation on the organizational citizenship behaviors of the local administration organizations’ employees. The samples consisted of 288 employees who worked for the Local Administration Organizations in Tha Uthen District, Nakhon Phanom Province. The instrument used was a questionnaire and the statistics adopted for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One–way ANOVA, and MLR (Multiple Linear Regression).
The study revealed these results:
1. The level of work motivation of the local administration organizations’ employees, as a whole, was at the high level (=4.05), at the same time, the employees’ organizational citizenship behaviors, as a whole, were also at the high level (=3.89).
2. When comparing the organizational citizenship behaviors of the local administration organizations’ employees based on their genders, ages, educational levels, monthly incomes, work experiences, and the offices they worked for, it was found that their organizational citizenship behaviors did not significantly differ at .05 statistical levels.
3. Regarding work motivation, the study demonstrated that these respects significantly influenced the organizational citizenship behaviors of the employees of the Local Administration Organizations in Tha Uthen District, Nakhon Phanom Province, at .05 statistical levels: the governance and command (MOT3), work environment (MOT5), and welfare and perks (MOT7). It was also found that these three aspects could be used to correctly predict the employees’ organizational citizenship behaviors 63.80%. On the contrary, these aspects could not be adopted for predicting the employees’ organizational citizenship behaviors: payment/wages (MOT1), relationship with others/colleagues (MOT2), policy and administration (MOT4) and welfare and stability (MOT6).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,368.44 KB |