สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม จำนวน 184 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.434-0.844 ค่าความเชื่อมั่น .985 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =3.77) และสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =4.39)
2. สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และหน่วยงานที่สังกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงาน ไม่มีความแตกต่างกัน
3. ตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 87.60 (Adjusted R2 = .876) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยของตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า การควบคุมดูแลงานมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ .302 ความก้าวหน้ามีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ .244 ความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ .240 ความรับผิดชอบมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ .178 สภาวะการทำงานมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ .157 และนโยบายและการบริหาร .150
The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of work motivation and competencies of the personnel of Sub-district Administrative Organizations in Pla Pak District, Nakhon Phanom Province, and 2) to compare the competencies of the personnel of Sub-district Administrative Organizations in Pla Pak District, Nakhon Phanom Province on the basis of their personal factors. The samples consisted of 184 personnel of Sub-district Administrative Organizations in Pla Pak District, Nakhon Phanom Province. They were obtained through stratified sampling technique. The questionnaire with the values of 0.80-1.00 IOC, 0.434-0.844 discrimination and .985 reliability was used as a tool for collecting the data. Statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test, One – way ANOVA, and Multiple Regression Analysis.
The study revealed these results:
1. The overall work motivation of the personnel of Sub-district Administrative Organizations in Pla Pak District, Nakhon Phanom Province was at the high level ( x=4.39).
2. Based on their varied monthly incomes and varied offices/departments, the competencies of the personnel of Sub-district Administrative Organizations in Pla Pak District, Nakhon Phanom Province statistically differed at .05 level of significance. However, on the basis of their different genders, ages, educational backgrounds, and work experiences, the competencies of the personnel of Sub-district Administrative Organizations in Pla Pak District, Nakhon Phanom Province did not differ.
3. Of all work motivation factors, it was found that the supervision control (β=.302) and the internal office relationships (β=.240) could be used to correctly predict the competencies in performing one’s jobs at .00 level of significance. At the same time, the responsibility (β=.178), work condition (β=.157), policy and administration (β=.150) could be used to correctly predict the competencies in performing one’s jobs at .01 level of significance. This meant that these factors altogether could be used to accurately predict the competencies of the personnel of Sub-district Administrative Organizations in Pla Pak District, Nakhon Phanom Province 87.60% (Adjusted R2 = .876).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,232.21 KB |