สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม จำนวน 398 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.40) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านคุณลักษณะทางสังคม ( =4.45) รองลงมาคือ ด้านภูมิหลังทางสังคม ( =4.43) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านสติปัญญา ( =4.33)
2) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.26) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย (=4.43) รองลงมาคือ ด้านงานทะเบียน (=4.42) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้อำนาจหน้าที่ปกครองราษฎร (=3.85)
3) ภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ด้านสติปัญญา ด้านภูมิหลังทางสังคม และด้านคุณลักษณะทางสังคม มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 45.80 ส่วนด้านลักษณะทางกาย ด้านบุคลิกภาพ และด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงาน ไม่มีมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
4) แนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ได้แก่ กรมการปกครอง กระทวงมหาดไทย และที่ทำการปกครองอำเภอ ควรจะมีการพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และควรจะจัดสรรทรัพยากร เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้เพียงพอ
The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of trait oriented leadership of the sub-district and village headmen in Phon Sawan District, Nakhon Phanom Province, 2) to study the level of performance effectiveness of the sub-district and village headmen in Phon Sawan District, Nakhon Phanom Province, 3) to examine the influences of trait oriented leadership on performance effectiveness of the sub-district and village headmen in Phon Sawan District, Nakhon Phanom Province, and 4) to explore and gain guidelines on developing performance effectiveness of the sub-district and village headmen in Phon Sawan District, Nakhon Phanom Province. The samples were 398 people who resided in Phon Sawan District, Nakhon Phanom Province. The instrument used for data collection was a questionnaire and statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Multiple Linear Regression Analysis.
The study unveiled these results:
1. Trait oriented leadership of the sub-district and village headmen in Phon Sawan District, Nakhon Phanom Province, as a whole, was at the high level. Contemplating each aspect, it was found that every aspect of the trait oriented leadership was at the high level. Of all aspects, the social aspect contained the highest mean (=4.45). The social background was at the second highest level (=4.43). In contrast, the intellectual aspect gained the least mean (=4.33).
2. In terms of trait oriented leadership, the study showed that all the physical characteristics, job aspects, and social qualities significantly influenced the performance effectiveness of the sub-district and village headmen in Phon Sawan District, Nakhon Phanom Province at .05 statistical level. All the aforementioned traits could be used to correctly predict the performance effectiveness of the sub-district and village headmen in Phon Sawan District, Nakhon Phanom Province 45.80%. Meanwhile, the social background, intellectual qualities, and personalities did not influence on the performance effectiveness of the sub-district and village headmen in Phon Sawan District, Nakhon Phanom Province.
3. Regarding good governance management, the components of ethics, participation/involvement, accountability, and value of money significantly influenced on the performance effectiveness of the Administration Office, Nakae District, Nakhon Phanom Province at .05 statistical level. Altogether, these components could be employed to correctly predict the performance effectiveness of the Administration Office, Nakae District, Nakhon Phanom Province 91.60%. However, the components of rule of law and transparency did not influence the performance effectiveness of the Administration Office, Nakae District, Nakhon Phanom Province.
4. These guidelines were obtained for developing the performance effectiveness of the sub-district and village headmen in Phon Sawan District, Nakhon Phanom Province. The Provincial Administration Department, Ministry of Interior should consistently improve the performing roles of the sub-district and village headmen so as to increase their knowledge and capabilities. Adequate resources to help and facilitate the sub-district and village headmen to perform their jobs should be provided as well.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,750.69 KB |