ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังและพูดภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับลูกเสือมัคคุเทศก์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกัน และการเสริมต่อการเรียนรู้
Development of Training Curriculum to Enhance English Listening and Speaking Ability for Cultural Tourism for Guide Scouts Based on Context-Based Learning, Collaborative Learning and Scaffolding
ผู้จัดทำ
อิชยา กองไชย รหัส 61632227101 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์ , ดร.พจมาน ชำนาญกิจ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังและพูดภาษาอังกฤษ สำหรับลูกเสือมัคคุเทศก์ ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐาน การเรียนรู้ร่วมกัน และการเสริมต่อการเรียนรู้ และ 2) ศึกษาผลของการใช้หลักสูตรฝึกอบรม วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จำนวน 118 คน โดยใช้วิธีเลือกสุ่มแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองหลักสูตร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอุเทนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 2 จำนวน 30 คน ระดับชั้นละ 10 คน โดยการสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรฝึกอบรม แบบวัดความสามารถในการฟังและพูดภาษาอังกฤษ แบบวัดความตระหนักเห็นคุณค่าในวัฒนธรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x  = 4.59, S.D. = .51) ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ดังนี้ ที่มาและความสำคัญ แนวคิดพื้นฐาน หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างเนื้อหา แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล 

2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น พบว่า 
            2.1 ความสามารถการฟังและพูดภาษาอังกฤษของลูกเสือมัคคุเทศก์ที่อบรมด้วยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น หลังอบรมสูงกว่ากว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญ
   ทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบเกณฑ์ร้อยละ 80 ความสามารถในการฟังและพูดภาษาอังกฤษ หลังอบรมสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้เท่ากับ 81.28
            2.2 ความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมหลังเรียนด้วยหลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก (x = 4.25, S.D. = .82)
            2.3 ความพึงพอใจของลูกเสือมัคคุเทศก์ต่อหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก (x = 4.09, S.D. = .55)
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop a training curriculum to enhance English listening and speaking ability for cultural tourism for guide scouts based on context-based learning, collaborative learning, and scaffolding, and 2) to examine the effects after the implementation of the developed training curriculum. The research methodology comprised three stages: Stage I- Fundamental Information Investigation. The samples in this stage, obtained through purposive sampling, consisted of 118 participants; Stage II- Training Curriculum Development; and Stage III-Training Curriculum Implementation. The volunteer samples consisted of 30 students from Prathomsuksa 4 to 6 levels with ten selected students from each level. The research tools included the developed training curriculum, an English listening and speaking ability test, a cultural awareness assessment, and a set of questionnaires assessing students’ satisfaction toward the developed training curriculum. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test for Dependent Samples.

The findings were as follows: 

1. The developed training curriculum was appropriate at the highest level (x = 4.59, S.D. = .51), consisting of eight components: Rationale and significance, basic concepts, principles, objectives, content structure, guidelines for learning activity management, media and learning resources, and measurement and evaluation. 

2. The effects after the training curriculum implementation revealed that 
            2.1 The English listening and speaking ability of the guide scouts after the intervention was higher than that of before the intervention at the .01 of level significance. When compared to the defined criterion of 80 percent, the guide scouts’ English listening and speaking ability was higher than the defined criterion at 81.28 percent.
            2.2 The guide scouts’ cultural awareness after the intervention was at a high level (x = 4.25, S.D. = .82).
            2.3 The guide scouts’ satisfaction toward the developed training 
curriculum was at a high level (x = 4.09, S.D. = .55).
 

คำสำคัญ
ความสามารถในการฟังและพูดภาษาอังกฤษ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การใช้บริบทเป็นฐาน การเรียนรู้ร่วมกัน การเสริมต่อการเรียนรู้
Keywords
English Speaking and Listening Ability, Cultural Tourism, Context-Based Learning, Collaborative Learning, Scaffolding
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,641.20 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:05:45
View 841 ครั้ง


^